วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

รูปแบบที่พักแบบพำนักระยะยาวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

รูปแบบที่พักแบบพำนักระยะยาวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

ชื่อบทความ/งานวิจัย รูปแบบที่พักแบบพำนักระยะยาวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

ผู้วิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ปีที่ทำวิจัย 2550

แหล่งทุน สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว



บทคัดย่อ/บทสรุปผู้บริหาร



การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มการขยายตัวในปริมาณสูง หลาย ประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และสเปนให้ความสนใจและจัดทำเป็นนโยบายระดับประเทศเพื่อให้เป็นกิจกรรมที่ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทำให้นักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้พึงพอใจและเลือกเป็นแหล่งพำนักระยะยาวที่จะ กลับมาเป็นประจำทุกปี สำนักพัฒนาการท่องเที่ยวตระหนักถึงศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำของโลกสำหรับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวโดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ 198 วัน

โครงการนี้ได้กำหนดกิจกรรมหลักไว้ 4 ประเภท คือ การวิจัยเอกสารเพื่อศึกษาสภาพการจัดการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในต่าง ประเทศและในประเทศไทย เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานกิจกรรมที่ 2 คือ การจัดทำมาตรฐานที่พักแบบพำนักระยะยาวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย รวมทั้งทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว กิจกรรมที่ 3 ที่ ดำเนินการคู่ขนานกันไปคือการสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานประกอบการที่พักแบบ พำนักระยะยาว และได้สร้างฐานข้อมูลพร้อมโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต และกิจกรรมสุดท้ายคือการจัดการประชุมผู้ประกอบการที่พักเพื่อให้มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานที่พักแบบพำนักระยะยาวที่ได้จัดทำขึ้น

การ วิจัยเอกสาร เพื่อศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในประเทศ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย สเปน สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย ได้เรียนรู้ประเด็นที่สำคัญคือ ประเทศสเปนจะได้เปรียบประเทศไทยด้านระยะทางที่อยู่ใกล้ประเทศต้นทางของนัก ท่องเที่ยว และความสะดวกในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ส่วนประเทศฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียจะได้เปรียบในเรื่องภาษา แต่มีข้อด้อยในเรื่องค่าครองชีพและภูมิอากาศ สำหรับประเทศ มาเลเซียมีจุดเด่นที่แตกต่างจากประเทศไทย คือ การให้บริการอย่างเพียบพร้อมแก่นักท่องเที่ยวตั้งแต่เริ่มต้นความคิดที่จะ หาสถานที่สำหรับการพำนักระยะยาว กระบวนการตรวจลงตรา และความสะดวกทุกเรื่องด้วยการบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว แต่ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยสามารถจะพัฒนาให้เป็นประเทศชั้นนำสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้ เนื่องจากมีอากาศดี ภูมิประเทศสวยงามและหลากหลาย รวมทั้งการที่คนไทยส่วนใหญ่มีความเป็นมิตรและพร้อมที่จะให้บริการนักท่อง เที่ยว

การ สัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่พักแบบพำนักระยะยาวและนักท่องเที่ยวทำให้เห็นแนว โน้มความต้องการของนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวว่าจะมีความแตกต่างจากนัก ท่องเที่ยวในกลุ่มอื่นในเรื่องที่พักที่ต้องการเครื่องอำนวยความสะดวกที่ เหมือนกับการดำเนินชีวิตประจำวันของนักท่องเที่ยวเอง ต้องการ กิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้การพักผ่อนระยะยาวน่าสนใจ ความปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสุขภาพ เมื่อนำความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มาพิจารณาร่วมกับสารสนเทศด้าน มาตรฐานคุณภาพ มาตรฐานที่พักประเภทต่างๆ รวมทั้งมาตรฐานที่พักแบบพำนักระยะยาว ทำให้ได้เกณฑ์มาตรฐานที่พักแบบพำนักระยาวที่เหมาะสมกับประเทศไทยให้ฉบับร่าง หลังจากนั้นจึงได้นำร่างมาตรฐานนี้ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอุตสาหกรรมท่อง เที่ยวพิจารณา และจัดประชุมกลุ่มเฉพาะเพื่อเสนอข้อคิดเห็นและนำมาปรับปรุงร่างมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานที่พักมี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับแพลตตินัม ระดับทองและระดับเงิน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 29 เกณฑ์ และ 100 ตัวชี้วัด เกณฑ์ที่กำหนดไว้ ได้แก่

องค์ประกอบที่ 1 สถานที่ตั้ง สภาพแวดล้อม สิ่งก่อสร้างทั่วไป ทางสัญจรและสถานที่จอดรถ องค์ประกอบที่ 2 โถงต้อนรับ ลิฟต์ องค์ประกอบที่ 3 ห้องพัก องค์ประกอบที่ 4 ห้องอาหาร บริเวณประกอบอาหารและรับประทานอาหาร องค์ประกอบที่ 5 บริการเสริมอื่นๆองค์ประกอบที่ 6 บุคลากร องค์ประกอบที่ 7 ระบบความปลอดภัย องค์ประกอบที่ 8 การจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและความสัมพันธ์ชุมชน องค์ประกอบที่ ๙ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ ราคาและการระบุบริการต่าง ๆ

สำหรับการจัดทำฐานข้อมูลสถานประกอบการที่พักแบบพำนักระยะยาวเริ่มด้วยการสำรวจจากเว็บไซต์ที่ค้นหาด้วยคำหลัก “ที่พัก/longstay/พำนักระยะยาว” พบสถานประกอบที่แสดงสถานะและ/หรือมีการบ่งลักษณะที่พักแบบพำนักระยะยาว จำนวน 283 แห่ง ขั้นตอนต่อไปคือการจัดส่งแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นจากงานวิจัยเอกสารเนื้อให้ ครอบคลุมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลที่เอื้อต่อการพำนักระยะยาว ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ฯลฯ ได้รับแบบสอบถามคืน 83 แห่ง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จัดทำฐานข้อมูล ทดลองใช้และจัดทำคู่มือใช้ฐานข้อมูล ซึ่งลักษณะเด่นของฐานข้อมูลคือ สามารถเพิ่มข้อมูลได้ไม่จำกัด สามารถสั่งพิมพ์รายงานมากกว่า 10 รายงาน สามารถเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานได้ ฐาน ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปเชื่อมโยงกับเว็บไซต์เพื่อการสืบค้นหา ที่พักและผู้ประกอบการสามารถเข้าไปเพิ่มเติมข้อมูลได้ด้วยตนเองในกรณีมีการ จัดเตรียมอุปกรณ์หรือเปลี่ยนแปลงรายการบริการ ในส่วนทางภาครัฐสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความพร้อมของที่พักแบบพำนักระยะยาวได้

ในกิจกรรมสุดท้ายของโครงการ คือการฝึกอบรม ได้จัดกิจกรรมย่อยใน 2 รูป แบบ คือการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวแบบ พำนักระยะยาวเพื่อให้นำความรู้ที่ได้รับไปปรับปรุงเพื่อเตรียมการยกระดับ มาตรฐานที่พักของตนให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ และได้จัดให้มีการเยี่ยมสถานประกอบการที่พักที่ได้เริ่มจัดบริการแบบพำนัก ระยะยาวทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดเพื่อแนะนำมาตรฐานและเพื่อศึกษาแนวทาง ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวให้ประสบความสำเร็จ

จาก การดำเนินงานในโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวทำให้ มองเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในด้านการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว โดยมีประเด็นสำคัญที่จะต้องดำเนินการ ประการแรก คือ การร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากหน่วยงานต่างสังกัดในภาครัฐที่จะต้องพิจารณาหาทาง ให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกมากที่สุดโดยไม่กระทบกับปัญหาความมั่นคงและ ความปลอดภัยของประเทศ ประการที่สอง จะต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์จากทั้งภาครัฐและเอกชนในด้านบริการการท่อง เที่ยวแบบพำนักระยะยาวที่มีคุณภาพได้มาตรฐานของประเทศไทยอย่างทั่วถึงและ หลากหลายรูปแบบ และประการสุดท้าย คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบพำนัก ระยะยาว ซึ่งจะเป็นผลทำให้ชุมชนมีส่วนในการเผยแพร่สิ่งที่ดีและสงวนรักษาสิ่งที่เป็น ทรัพยากรโดยวิธีการที่ถูกต้อง

http://www.whyretireinthailand.com/index.html
http://www.thailongstay.co.th

ดาวห์โหลด : เอกสาร

ที่มา: สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น