วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

MAKE MONEY ONLINE / FAST 3 CYCLE

จุดเด่นของธุรกิจ Fast3Cycle

*เป็นธุรกิจที่มีบริษัทจดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย
*แผนการตลาดง่ายแต่ทรงพลัง จ่ายหนักทั้ง 6 กระดาน
*ลงทุนเพียง 9,500 บาท ครั้งเดียวตลอดชีวิต
*มีรายได้สูงสุด 55 ล้าน 8 แสน บาท
*ทำงานอยู่ที่บ้านโดยใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
*ไม่ต้องเดินทางไปประชุม เสียเวลา เสียค่าน้ำมันรถ
*ไม่กระทบการเรียน หรืองานประจำ เพราะใช้เวลาว่างเท่านั้น
*ไม่จำกัด อายุ เพศ วุฒิการศึกษา ใครก็ทำได้
*เป็นเจ้านายตัวเอง สร้างรายได้ไม่จำกัด ไม่ต้องรอเงินเดือนขึ้น
*ระบบที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเงินด่วนจำนวนมาก
*ระบบที่จ่ายผลประโยชน์อย่างสมเหตุสมผล
*ระบบเดียวที่จะสร้างเงินล้านให้กับคุณ..."เร็วที่สุด"...
*นี่คือระบบที่คนทั่วโลกช่วยสร้างรายได้ให้คุณอย่างแท้จริง !


โอกาสทางธุรกิจมาถึงคุณแล้ว คลิกดูรายระเอียดได้เลย



สำนักงานใหญ่

ตั้งอยู่ที่ บริติส เวอร์จิน ไอซ์แลนด์
Seawave Universal Limited
PO Box 3483,
Road Town,
Tortola,
British Virgin Islands.


info@fast3cycle.com
support@fast3cycle.com


ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ British Virgin Islands. (เพื่อยืนยันว่าที่ตั้งของบริษัทมีอยู่จริง)
มาทำความรู้จักกับ บริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ กัน
           บริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ เป็นเขตปกครองตนเองในอาณัติของอังกฤษ เป็นหมู่เกาะในทะเล
แคริบเบียนอันสวยงามห่างจากเปอร์โต ริโก ไปทางตะวันออกประมาณ 95 กิโลเมตร ประกอบด้วย
เกาะเล็กเกาะน้อยรวมกันกว่า 50 เกาะ

ระบบกฎหมายและภาษีอากร
           เนื่องจากว่าเป็นเขตปกครองตนเองในอาณัติของอังกฤษ ระบบกฎหมายของบริทิช เวอร์จิน
ไอร์แลนด์ จึงกลายเป็นระบบกฎหมายแบบคอมมอนลอว์ ผู้อุทธรณ์สามารถฎีกา Privy Council ของ
อังกฤษได้ สำหรับรายได้้หลักของรัฐบาลได้แก่ ภาษีเงินได้ อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ค่าธรรม- เนียมการอนุญาตต่างๆ  ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบริษัท  แต่ไม่มีการจัดเก็บภาษีมรดก   และภาษีกำไร
จากการขาย (Capital Gain Tax)  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมาก ที่ดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้าไปจด
ทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่นั่นเป็นจำนวนมาก

ฝ่ายพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
10 กุมภาพันธ์ 2549

เอกสารยืนยันการจดทะเบียน แสดงให้เห็นว่ามีตัวตนอยู่จริง



"ไม่มีใครเคยปีนบันใดความสำเร็จ ขณะที่มือทั้ง 2 ข้าง
ซุกอยู่ในกระเป๋ากางเกง"

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

สมเกียรติ" ชำแหละสัญญาโทรศัพท์ 3G ระหว่าง กสท และ ทรู:สัมปทานจำแลงในยุคอภิสิทธิ์

ในช่วงปลายเดือน มกราคม ที่ผ่านมา กสท โทรคมนาคม ได้ทำสัญญาในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G หลายฉบับกับบริษัทในเครือทรู คอร์ปอเรชั่น   หากดูผิวเผิน อาจเกิดความรู้สึกว่า สัญญาเหล่านี้จะทำให้คนไทยได้ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า   แต่ถ้าศึกษาให้ดีจะพบว่า อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยกำลังจะถลำเข้าไปอยู่ในวังวนแห่งความด้อยพัฒนาและปัญหาหมักหมมไปอีกนาน  

        
 แม้สัญญาที่เกี่ยวข้องจะมีหลายฉบับ   สาระสำคัญส่วนใหญ่ก็อยู่ในสัญญาเพียง 2 ฉบับหลักที่เรียกว่า  “สัญญาเช่า” และ “สัญญาขายส่ง”       ในส่วนของสัญญาเช่านั้น กสท จะ “เช่า” อุปกรณ์โทรคมนาคมจาก บีเอฟเคที ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ทรู   มาติดตั้งบนเสาโทรคมนาคมที่ กสท จะสร้างขึ้น    


ในขณะที่สัญญา “ขายส่ง” นั้น กสท ก็จะนำเอาโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งหมดที่มีคือ เสา และระบบสื่อสัญญาณที่สร้างขึ้น และอุปกรณ์ที่เช่ามาจากทรู นำมา “ขายส่ง” ให้ เรียลมูฟ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ทรู  อีกแห่งหนึ่ง  โดยเรียลมูฟ จะมีสิทธิในการใช้โครงข่ายดังกล่าว  80% ของความจุ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือของตน (ดูภาพประกอบ)
         
ในความเห็นของผู้เขียน สัญญาต่างๆ เหล่านี้มีปัญหาใหญ่ 2 ประการคือ  ความชอบด้วยกฎหมายในการทำสัญญา  และเนื้อหาของสัญญาที่ กสท. น่าจะเสียเปรียบ ทรู เป็นอย่างมาก
         
ในส่วนของข้อกฎหมายนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า สัญญาดังกล่าวเมื่อดูในภาพรวมแล้ว น่าจะเข้าข่ายเป็นสัญญาตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (กฎหมายร่วมทุน)  เนื่องจากมีสาระสำคัญแทบไม่แตกต่างจากสัญญาสัมปทานโดยทั่วไป  

หากเป็นเช่นนั้นจริง การทำสัญญานี้ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดเช่น โครงการต้องผ่านการพิจารณาของสภาพัฒน์ และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี  นอกจากนี้ การคัดเลือกเอกชนคู่สัญญาต้องมีการแข่งขันเปิดกว้าง ไม่ใช่การคัดเลือกทรู มาเพียงรายเดียว   

เราอาจมองได้ว่า การที่สัญญาระหว่าง กสท และทรู ถูกแบ่งซอยออกเป็นสัญญาย่อยๆ หลายฉบับนั้น เป็นความพยายามของคู่สัญญาในการหลีกเลี่ยงกลไกการตรวจสอบตามกฎหมายร่วมทุน   ทั้งนี้ ผู้บริหารของ กสท. อ้างว่าสัญญาดังกล่าวไม่เข้าข่ายที่ต้องทำตามกฎหมายร่วมทุน


ทั้งที่หลายฝ่ายรวมทั้ง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตั้งข้อสงสัยในประเด็นดังกล่าว    แต่กลับไปอ้างว่าอัยการให้ความเห็นชอบกับสัญญาต่างๆ แล้ว ทั้งที่อัยการเองก็ยังไม่น่าจะได้เห็นสัญญาครบทั้งหมด และในส่วนของสัญญาที่อัยการได้เห็น ก็ได้ตั้งข้อสังเกตและให้คำเตือนต่างๆ มากมาย
         
นอกจากนี้ ในส่วนของ “สัญญาเช่า”  ยังมีเนื้อหาที่กำหนดให้ กสท ต้องนำเอาคลื่นความถี่ของตนไปใช้กับอุปกรณ์ของเอกชนที่กำหนดไว้เท่านั้น  ซึ่งน่าจะผิดบทบัญญัติของกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ (กฎหมาย กสทช.) ที่ห้ามผู้ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ นำเอาคลื่นความถี่ไปให้ผู้อื่นใช้ต่อ        ยิ่งไปกว่านั้น สัญญาดังกล่าวยังมีเงื่อนไขหลายข้อที่น่าจะขัดต่อบทบัญญัติเรื่องการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตามกฎระเบียบในการประกอบกิจการโทรคมนาคมอีกด้วย
         
ที่น่าพิศวงอีกประการหนึ่งก็คือ กสท กล้าทำสัญญาเช่าดังกล่าวกับทรู เป็นเวลาถึง 14.5 ปีทั้งที่โครงการยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาของสภาพัฒน์และยังไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนนตรีเลย  โดยผู้บริหาร กสท. อ้างว่า กำลังดำเนินการคู่ขนานกันไป ซึ่งน่าจะหมายความว่าเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎระเบียบ 
         
นอกจากความเสี่ยงที่จะขัดกับกฎหมาย 4-5 ฉบับดังกล่าวมาแล้ว  ในส่วนของเงื่อนไขข้อสัญญา ผู้เขียนก็เห็นว่า ฝ่ายรัฐคือ กสท เสียเปรียบฝ่ายเอกชนอย่างชัดแจ้งหลายประการ  เช่น จังหวะก้าวในการลงทุนทั้งหมด จะถูกกำหนดมาจากความต้องการของทรูเป็นหลัก ซึ่งผิดกับลักษณะการ “ขายส่ง”โดยทั่วไป  ที่เจ้าของโครงข่ายจะเป็นผู้ตัดสินใจลงทุนขยายโครงข่ายตามความต้องการของตนเอง 
         

ที่สำคัญ ผลตอบแทนที่ กสท จะได้รับจากการทำสัญญาครั้งนี้ ไม่น่าจะคุ้มค่ากับทรัพยากรที่ตนจะต้องลงทุนไป เพราะแม้แต่ในการประมาณการกรณีที่ดีที่สุด (best scenario) สำหรับ กสท.  กสท. จะได้ผลตอบแทนจากการทำสัญญาดังกล่าวเพียง 1.4 หมื่นล้านบาท ตลอดเวลา 14.5 ปี    ผลตอบแทนดังกล่าวน้อยมาก เมื่อพิจารณาว่า ลำพังมูลค่าของคลื่นความถี่ที่ กสท. จะต้องนำมาให้ทรูใช้ ก็มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.28 หมื่นล้านบาทแล้ว หากประเมินตามราคาที่ กทช. เคยตั้งไว้    

ทั้งนี้ การคิดผลตอบแทนดังกล่าวยังน่าจะไม่ได้รวมภาระด้านเงินต่างๆ ที่ กสท. จะต้องแบกรับไว้ด้วยเช่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ที่ต้องจ่ายให้ กทช. ประมาณ 2% และค่าบริการอย่างทั่วถึง ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บที่อัตรา 4% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย ตลอดจนต้นทุนอื่นๆ เช่น ค่าจ้างพนักงานและค่าบริหารจัดการ
         
การทำสัญญานี้ ยังส่งผลให้ กสท. หมดสภาพความเป็น “ผู้รับใบอนุญาตประเภทที่มีโครงข่ายโทรคมนาคม” ไปโดยปริยาย เพราะจะมีสภาพแทบไม่แตกต่างจาก  “ผู้รับเหมาก่อสร้างเสาโทรคมนาคม”  เนื่องจากการดำเนินการตามสัญญาจะทำให้ กสท. ไม่มีแม้แต่อุปกรณ์ 3G เป็นของตนเอง และจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในเวลาไม่นาน 
         

ในเวลาเดียวกัน ทรู จะได้ผลประโยชน์มหาศาลจากการทำสัญญาดังกล่าว ที่สำคัญที่สุดก็คือ จะได้สิทธิในการประกอบการต่อไปอีก 14.5 ปี โดยไม่ต้องห่วงว่าสัมปทานที่มีอยู่จะหมดอายุลงภายใน 2 ปี  และจะได้คลื่นความถี่ฟรี โดยไม่ต้องไปประมูลแข่งกับผู้ประกอบการรายอื่น  



นอกจากนี้ ทรูจะยังสามารถย้ายลูกค้าตามสัมปทานปัจจุบันไปใช้โครงข่ายใหม่ โดยไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ กสท. อีกต่อไป   ทั้งหมดนี้ จะทำให้ทรูได้สิทธิในการเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์ 3G ก่อน และมีต้นทุนในการให้บริการต่ำกว่าคู่แข่ง ซึ่งน่าจะนำไปสู่การผูกขาดตลาดการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงไร้สายในระยะยาว 
         

นอกจากการสร้างการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมแล้ว  “สัมปทานจำแลง”  ระหว่าง กสท. และ ทรู นี้ยังจะทำให้ระบบสัมปทานซึ่งเป็นต้นตอของความล้าหลังและความฉ้อฉลในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย คงอยู่ต่อไปอีกเกือบ 15 ปี  และจะทำให้การประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่สามารถแยกออกจากการเมืองได้
         


ไม่น่าแปลกใจว่า สัมปทานโทรคมนาคม เกิดขึ้นในยุคของรัฐบาลที่มีภาพพจน์แปดเปื้อนไปด้วยคราบไคลของการคอร์รัปชั่นเมื่อสองทศวรรษก่อน  แต่ที่น่าสลดใจก็คือ สัมปทานจำแลงกำลังเกิดขึ้นอีกครั้งในยุคสมัยของนายกรัฐมนตรี ซึ่งย้ำอยู่เสมอว่า ตัวท่านไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และรัฐบาลของท่านให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างธรรมาภิบาล
   


จาก สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

เปิดเวทีถก "ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์"

เปิดเวทีถก "ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์" นักวิชาการงัดข้อมูลธุรกิจไทยเจอผลกระทบทางตรงและทางอ้อมอาจสูญปีละกว่า 5.8 หมื่นล้านบาท ส่วนพาณิชย์ยันจะทำอย่างรอบคอบ และผู้นำเข้าสินค้าจีนในไทยกุมขมับ



ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลการศึกษาการเคลื่อนย้ายทุนของนักธุรกิจจีนที่เข้ามาพัฒนา เมกะโปรเจ็กต์ศูนย์กระจายสินค้า "ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์" มูลค่า 45,000 ล้านบาท บริเวณถนนบางนา-ตราด ก.ม. 8-9 นั้น ประเมินผลด้านบวก ไทยจะมีนักท่องเที่ยวตลาดจีน โลจิสติกส์สินค้า และกลุ่มธุรกิจไทย 30% ที่ได้รับคัดเลือกเข้าไปเปิดพื้นที่น่าจะขายสินค้าได้ง่ายขึ้น

ส่วนด้านลบ เมื่อนำหลักเศรษฐศาสตร์เป็นตัวชี้วัด เกิดการสูญเสียกับผู้ประกอบการไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมมูลค่าปีแรกราว 58,247 ล้านบาท คิดเป็น 0.6% ของจีดีพี แยกได้เป็นผลกระทบทางตรงกับ 1.อุตสาหกรรมการผลิต ศูนย์ค้าส่งหลักอย่างโบ๊เบ๊ สำเพ็ง ประตูน้ำ ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าย่อยกระจายอยู่ในแต่ละศูนย์ 2,000-3,000 ร้าน มีรายได้หมุนเวียนศูนย์ละ 3,200-4,800 ล้านบาท/ปี เมื่อ ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ เปิดบริการ รายได้จะหายไปจากศูนย์เหล่านี้ประมาณ 20% ของรายได้ทั้งหมด

2.ธุรกิจโลจิสติกส์แต่ละศูนย์ ทุกวันนี้โบ๊เบ๊มี 9,000 ราย ประตูน้ำมี 5,000 ราย สำเพ็งมี 3,600 ราย สร้างรายได้หมุนเวียนในกลุ่มขนส่งเฉลี่ย 8,000 ล้านบาท/เดือน ยังไม่รวมผลกระทบทางอ้อมกับธุรกิจเกี่ยวเนื่องอย่างการเงิน เกษตร ปั๊มน้ำมัน รวมกันเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท

นางศรีรัตน์ รัฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้จีนเคลื่อนการลงทุนเข้ามายังไทยตามกรอบข้อตกลงเปิดเสรีการค้า (Free Trade Agreement : FTA) "อาเซียน + จีน" ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่สองเดือนมีนาคม 2554 ได้ประชุมร่วมกันถึงความคืบหน้าการเจรจาด้านการค้า บริการ ส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ นั้น ตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์พยายามจะดำเนินการโดยให้กระทบกับผู้ประกอบการภายในประเทศน้อยที่สุด และมองถึงประโยชน์การเลือกใช้ไทยเป็นฐานสร้างโรงงานผลิตสินค้าบวกกับเป็นศูนย์กระจายสินค้าไปตลาดโลก

นายวรชาติ พุกโฉมงาม เจ้าของร้านอินเทรนด์ ศูนย์การค้าวงเวียนใหญ่ ผู้นำเข้าสินค้าจีนจากศูนย์การค้าอี้อู มณฑลเจ้อเจียง เข้ามาประกอบเป็นสินค้าแฟชั่น ของที่ระลึก และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ กล่าวว่า นำเข้าสินค้าจากจีนเข้ามาเกือบ 100% เนื่องจากต้นทุนต่ำแต่นำมาแปรรูปสร้างมูลค่าใหม่ขายในราคาสูงขึ้น แต่ถ้าไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ เปิดให้เอสเอ็มอีจีนเข้ามาขาย ร้านค้าในศูนย์ค้าส่งของไทยยังคงหวั่นวิตกมาจนถึงทุกวันนี้และพยายามจะหาทางออกที่ดีต่อไป

ททท.เตรียมรับมือญี่ปุ่นแห่ปักหลักไทย

วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7415 ข่าวสดรายวัน

ททท.เตรียมรับมือญี่ปุ่นแห่ปักหลักไทย

นายธวัชชัย อรัญญิก รองผู้ว่าการด้านการตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวถึงการเกิดภัยพิบัติสึนามิในญี่ปุ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในไทยขณะนี้ ว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปีถึงเดือนมี.ค.การท่องเที่ยวของไทยขยายตัวมากขึ้น ทัวร์จากต่างประเทศเข้ามาในไทย และห้องพักในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ก็เต็มเกือบหมด สำหรับนักท่องเที่ยวคนไทยที่ในช่วงนี้จะเดินทางไปญี่ปุ่นนับแสนคน แต่ต้องยกเลิกการเดินทางเกือบ 100% ทาง ททท.เตรียมรณรงค์โครงการที่จะให้หันมาเที่ยวในไทยแทน โดยจะให้ 5 ภูมิภาคทั่วไทย ออกแคมเปญโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวดังๆ โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ถึงพ.ค. เพื่อให้นักท่องเที่ยวไทยที่จองทัวร์ไปญี่ปุ่น และคืนตั๋วแล้วจะหาที่ท่องเที่ยวใหม่ก็เน้นให้เที่ยวไทยแทน

สำหรับปีนี้ตัวเลขการท่องเที่ยวในประเทศน่าจะโตขึ้นอีก โดยทั้งปีตั้งไว้ที่ 91 ล้านคนครั้ง โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ถึงพ.ค. คาดว่าจากแผนดังกล่าวน่าจะขยายตัวขึ้น 15% สำหรับงบโปรโมตการท่องเที่ยวคงไม่ต้องเพิ่ม เพราะ ททท.ใช้แผนการท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก และจะไม่แข่งกับต่างประเทศ โดยช่วงเทศกาลสงกรานต์ถึงพ.ค.ทัวร์จากต่างประเทศเต็มอยู่แล้ว

"ที่น่ากลัวที่สุด คือ คนญี่ปุ่นที่จะเข้ามาไทยเยอะจะขนมาทั้งครอบครัวแต่ไม่ได้มาเที่ยว จะมาพักอาศัยแบบลองสเตย์ หรืออยู่อาศัยในไทยนาน เพราะห่วงเรื่องกัมมันตรังสี ไม่เสี่ยงอยู่ในญี่ปุ่น จึงพาครอบครัวมาอยู่ในที่ปลอดภัย ซึ่งคนญี่ปุ่นชอบมากที่สุดคือฮาวาย และประเทศไทย เนื่อง จากมีธรรมชาติที่สวยงาม ทางททท.ต้องเตรียมเฝ้าระวังดูอยู่ว่าคนญี่ปุ่นจะแห่ทะลักเข้าไทยมากแค่ไหน จะได้เตรียมรับมือได้ทัน ซึ่งให้สำนักงานของ ททท.ที่ญี่ปุ่นตรวจสอบการขอวีซ่าของคนญี่ปุ่นอยู่ โดยปีหนึ่งๆ คนญี่ปุ่นมาเที่ยวไทยนับล้านคน ส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 3,000 บาทต่อวัน มาเที่ยวครั้งหนึ่งจะอยู่ประมาณ 5-6 วัน" นายธวัชชัยกล่าว




แผนที่ ที่พัก และแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของไทย

แผนที่วัดเขาไกรลาศ หนองแก อ.หัวหิน 
  
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด 


จุดชมวิวเขาแดง


ในบริเวณนี้จะมีจุดชมวิวบนยอดเขาแดงที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 157 เมตร จุดชมวิวนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปตามถนนลาดยาง 400 เมตร แล้วเดินขึ้นเขาไปอีก 300 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เวลาที่เหมาะแก่การขึ้นชมวิว คือ ตอนเช้ามืดประมาณ 05.30 น. เพราะสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นเหนือขอบทะเลบ้านเขาแดงและทัศนียภาพรอบๆ ได้ดี ตลอดจนชมนก ลิงแสม และค่างแว่นที่ออกหาอาหารในตอนเช้าตรู่
  
ธ์