วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

ศักยภาพของไทยต่อการดำเนินการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว



ศักยภาพของไทยต่อการดำเนินการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว

ชื่อบทความ/งานวิจัย ศักยภาพของไทยต่อการดำเนินการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว

ผู้วิจัย สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปีที่ทำการวิจัย 2549

แหล่งทุน คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาของวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา



บทคัดย่อ/บทสรุปผู้บริหาร

การจัดทำโครงการวิจัยเรื่อง “ศักยภาพของไทยต่อการดำเนินนโยบายการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว” มี จุดมุ่งหมายหลักเพื่อที่จะศึกษาสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวแบบ พำนักระยะยาวของประเทศไทย ศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ ประเภทและกิจกรรมท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวตลอดจนผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งสรุปประเด็นปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การสร้างความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพดำเนินการตามนโยบายการท่อง เที่ยวแบบพำนักระยะยาว (Long Stays) ของ ประเทศไทยอย่างยั่งยืนร่วมกันต่อไป โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับทุกกลุ่มที่เกี่ยว ข้อง คือนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจ ภาคเอกชน ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ และผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในชุมชน ในจังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรีและหนองคาย จำนวน 165 คน ดังสรุปเป็นผลการวิจัย ดังต่อไปนี้คือ

1) สถานการณ์รณเกี่ยวกับกลุ่มนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว :ผลที่ได้จากการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสถานการณ์การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวของ 3 พื้นที่ (จังหวัดชลบุรี หนองคาย และเชียงใหม่) เห็น พ้องต้องกันว่า ปริมาณของนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวจะเพิ่มจำนวนขึ้นจำนวนมากแน่นอนใน อนาคตอันใกล้นี้ โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา และภูมิภาคยุโรป ส่วนนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคแถบเอเชียก็มีเพิ่มขึ้นกว่าเดิมแต่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับกลุ่มแรก โดยส่วนใหญ่นิยมเดินทางมาคนเดียว ตามด้วยมากับกลุ่มเพื่อน และครอบครัวตามลำดับ โดยมีระยะเวลาพำนักอยู่ในประเทศไทยเฉลี่ยประมาณ 93 วัน โดยที่หลายคนเข้ามาท่องเที่ยวตลอดทั้งปี บางคนมาปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 3เดือน บางคนมาปีละครั้ง บางคนมาอยู่ถึง 6 เดือนแต่โดยภาพรวมแล้วจะอยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ยกเว้นพวกที่มีวัตถุประสงค์อื่นๆ ก็จะอยู่ยาวนานยิ่งขึ้นเช่นมาทำธุรกิจ หรืองานวิชาการในรูปแบบต่างๆ และบางส่วนใช้ประเทศไทยเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อเดินทางต่อไปท่องเที่ยวแบบพำนัก ระยะยาวพื้นที่ใกล้เคียงทั้งต่างจังหวัดและต่างประเทศ เช่นจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงราย รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่าและประเทศมาเลเซีย ตามลำดับ

2) ด้านประเภทการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว:กรอบที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งประเภทการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวออกเป็น 4 ประเภทหลักคือ 1) แนวธรรมชาติ 2) แนวศิลปวัฒนธรรมและประเพณี 3) แนวนันทนาการ และ 4) แบบ มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งในขณะนี้ผลที่ได้พบว่ามีความสอดคล้องตามกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้คือ นักท่องเที่ยวประเภทนี้จะนิยมการท่องเที่ยวที่เป็นแนวธรรมชาติเป็นหลัก และรองลงมาตามลำดับตามกรอบแนวคิดที่วางไว้ แต่ทั้งนี้มีข้อสังเกตร่วมกันว่า การท่องเที่ยวประเภทมีวัตถุประสงค์เฉพาะเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น และมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น การท่องเที่ยวแนวสุขภาพ การท่องเที่ยวแนววิชาการ วิจัย รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาตามหน่วยงานต่างๆ ฯลฯ

3) ด้านผลกระทบต่างๆอันเนื่องมาจากการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว:พบ ว่าการท่องเที่ยวประเภทนี้สามารถส่งผลกระทบที่สำคัญด้านเศรษฐกิจต่อผู้ที่ เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มชุมชนที่แทบจะไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งต่างกับการท่องเที่ยวแบบกระแสหลักที่ ผลทางด้านเศรษฐกิจมักจะตกอยู่กับกลุ่มนายทุนเฉพาะกลุ่ม ส่วนผลกระทบในด้านอื่นๆเช่นด้านสิ่งแวดล้อมด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านสังคม และด้านความมั่นคงปลอดภัย พบว่าไม่ส่งผลมากนัก แต่ก็ได้รับการเสนอว่า ควรที่จะต้องมีการวางแผนเพื่อการจัดระบบการทำงานร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นดัง กล่าวมากขึ้น

4) ด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว:พบ ว่าต้องมีการประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบและต่อเนื่อง เช่น การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน การรณรงค์ ฯลฯ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ให้บริการ และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการความชัดเจน รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวประเภทนี้ เพื่อที่จะสามารถทำการบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพร่วมกัน

5) ข้อเสนอแนะ การพัฒนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว ควรจะต้องประกอบด้วยประเด็นเร่งด่วน 3 ประเด็นหลักๆ คือ

5.1) ความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ กรอบที่เป็นตัวกำหนดแนวทางปฏิบัติต่างๆ ร่วมกันเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวของรัฐบาล

5.2) การ จัดทำระบบการสื่อสารทั้งเพื่อการบริหารจัดการที่ชัดเจนร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ และการดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมการตลาดต่างๆได้อย่างชัดเจน ทั่วถึง มีประสิทธิภาพอีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยว ข้อง ฯลฯ

5.3) กลุ่ม นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าที่ชัดเจนร่วมกันประเด็นแรกสุด คือควรมีการปรับปรุงและแก้ไขคือ การให้ความสะดวกในการขอวีซ่ารวมทั้งการเพิ่มระยะเวลาในการพำนักที่มากขึ้น

ที่มา: http://www.senate.go.th/web-senate/research48/pdf/series1/m01.pdf

http://www.palaces.thai.net/vt/vtgp/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น