วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ถึงเวลา เตรียมพร้อมรับ “สังคมผู้สูงอายุ”

 ถึงเวลา  เตรียมพร้อมรับ “สังคมผู้สูงอายุ”


             โครงสร้างประชากรของไทย มีแนวโน้มเข้าสู่สังคมสูงอายุเช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก  ประชากรผู้สูงอายุไทยเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ที่ผ่านมา ผู้สูงอายุไทยเพิ่มจากร้อยละ 5.0 ในปี พ.ศ.2493 เป็นร้อยละ 10.1 ในปี พ.ศ.2543 เป็นการเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และปีพ.ศ.2558 จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุร้อยละ 15.6 พ.ศ. 2568 มีร้อยละ 21.5 และ พ.ศ.2576 มีร้อยละ 25 ประกอบกับ การสาธารณสุขที่พัฒนาก้าวหน้าไปมาก ส่งผลให้ผู้คนมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น 8.8 ปี โดยผู้ชายมีอายุเฉลี่ยที่ 71.8 ปี และผู้หญิงมีอายุเฉลี่ยที่ 80.6 ปี รวมถึง อัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับประชากรวัยแรงงาน  ใน 27 ปี นับจาก พ.ศ.2551 ผู้สูงอายุ 1 คน จะมีคนวัยแรงงานดูแลเพียง 2 คน และลดลงเรื่อย ๆ ในอนาคต ส่งผลให้ไทยก้าวสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” เต็มตัว


           ในหลายประเทศที่กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ได้วางนโยบายสำคัญเพื่อดูแลผู้สูงอายุในด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ การแพทย์ ยารักษาโรค การดูแลชีวิตความเป็นอยู่ บ้านพักผู้สูงอายุที่ไม่มีคนดูแล นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการให้บริการด้านการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อันมีส่วนลดโรคสมองเสื่อมและภาวะโรคซึมเศร้า ตัวอย่างมาตรการและโครงการสำหรับผู้สูงอายุในต่างประเทศที่น่าสนใจ ได้แก่ 


            จัดการศึกษาพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ไปกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งเป็นการลดอาการซึมเศร้าและโรคที่เกี่ยวกับสมอง เช่น อัลไซเมอร์ เป็นต้น ในต่างประเทศจึงมีนโยบายและโครงการด้านการศึกษาแก่ผู้สูงอายุ อาทิ


            เกาหลีใต้ กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารของเกาหลีใต้ (Ministry of Information and Communication: MIC)  จัดโครงการการศึกษาไอซีทีเพื่อผู้สูงอายุ  (ICT Education for the Elderly) โดยร่วมกับสถาบันส่งเสริมการใช้ไอซีทีของเกาหลี (Korea Agency for Digital Opportunity and Promotion: KADO) และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน วิทยาลัย ศูนย์สวัสดิการสังคม และศูนย์สวัสดิการผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณ เพื่ออบรมทักษะไอซีทีแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นเวลา 20-30 ชั่วโมง 


             ไต้หวัน เมื่อต้นปี ค.ศ.2008 กระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education: MOE) ไต้หวันประกาศเพิ่มงบประมาณจำนวน 46.54 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน (NT$) เพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ และก่อนหน้านี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อผู้สูงอายุในมณฑลและชุมชนทั่วไต้หวัน คือ ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learning centers) ศูนย์การเรียนรู้เพื่อผู้สูงอายุ (grey-haired learning centers) 
            
            สหรัฐอเมริกา วิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วสหรัฐฯ อนุญาตให้ประชาชนที่เกษียณอายุเข้าเรียนในหลักสูตรที่จัดสำหรับผู้สูงอายุ โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย และมีที่พักพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ผู้สูงอายุเสียค่าใช้จ่ายน้อยภายในวิทยาลัย


            จัดสวัสดิการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ประชากรสูงอายุเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแล เนื่องจากสภาพร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงได้รับอันตรายจากโรค อุบัติเหตุ และอาชญากรรมได้ง่าย ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ จึงได้วางนโยบายด้านสวัสดิการสังคม ที่ป้องกันความเสี่ยงทุกด้านของผู้สูงอายุ อาทิ 


โดดเดี่ยว เดียวดาย


             ฮ่องกง ตั้งแต่ ค.ศ.2000 กระทรวงสวัสดิการสังคม (Social Welfare Department)           ได้สนับสนุนให้มีการบริการผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ครอบคลุมบ้านพักเพื่อผู้สูงอายุ การดูแลพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุรายวัน มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุประจำชุมชน รวมถึง การเข้าไปดูแลถึงที่บ้าน การให้บริการจะมีบุคลากรจากหลายสาขาด้วยกัน เช่น นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด เช่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุละแวกบ้าน (Neighborhood Elderly Centre: NEC) เป็นรูปแบบการให้บริการในชุมชนในระดับเพื่อนบ้าน บริการให้บริการมีหลายด้าน อาทิ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มีกิจกรรมฝึกอบรม มีบริการจัดหาคนดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุรายวัย (Day Care Centre for the Elderly) เป็นศูนย์ที่ให้บริการระหว่างวันสำหรับผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เน้นที่การฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย มีพยาบาลและบุคลากรที่เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือ บ้านพักคนชรา (Home for the Aged) ให้บริการที่พัก อาหาร เสื้อผ้า สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ในชุมชนได้ Nursing Home ให้บริการที่พักและดูแลเป็นรายบุคคล เพื่อพยาบาลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยและไม่สามารถดูแลที่บ้านได้ ฯลฯ


            ออสเตรเลีย การให้บริการผู้สูงอายุในออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ภาครัฐเป็นผู้ผลักดัน ซึ่งกระจายอำนาจการจัดการไปยังมลรัฐ และในเมืองต่าง ๆ พร้อมกันนี้ ยังมีโครงการและการสนับสนุนจากชุมชน อาสาสมัคร และภาคเอกชน โดยบทบาทรัฐบาลในการให้บริการผู้สูงอายุ ได้แก่ ให้เงินบำนาญ บ้านพักผู้สูงอายุ ให้บริการยารักษาโรค การช่วยเหลือฉุกเฉิน การให้บริการผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ส่งเสริมให้สถานพยาบาล บ้าน และชุมชนจัดจัดโครงการดูแลผู้สูงอายุ บทบาทมลรัฐและเมือง ให้บริการคำปรึกษาด้านสุขภาพทางโทรศัพท์ บ้านพักคนชรา ให้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุ ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่วิกลจริต ช่วยเหลือในการเดินทาง และให้บัตรผู้สูงอายุที่ใช้เป็นส่วนลดเมื่อซื้อสินค้าและบริการ  บทบาทของชุมชนและภาคเอกชน บ้านพักคนชราและองค์การเพื่อดูแลผู้สูงอายุหลายแห่ง ดำเนินการโดยชุมชนและผู้ที่มีใจกุศล โดยส่วนใหญ่จะใช้ทรัพยากรและงบประมาณของตนเอง 


           จากข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาและสวัสดิการผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ ประเทศไทยควรเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ อาจให้ กทม. เป็นต้นแบบการจัดการศึกษาและสวัสดิการผู้สูงอายุ ดังนี้


           จากข้างต้นเป็นตัวอย่างการนำเสนอการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุในต่างแดนซึ่งมีการตื่นตัวกันอย่างมาก และสามารถนำมาเป็นแนวทางวางรูปแบบพัฒนาด้านการศึกษาและสวัสดิการรองรับการก้าวสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ของประเทศไทยได้ 


           สังคมผู้สูงอายุเป็นแนวโน้มที่เกิดคล้ายคลึงกันทั่วโลก ประเทศไทย ต้องเร่งเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้ ในการวางแผนและมาตรการรองรับการก้าวสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ให้เพียงพอ และเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ทั้งด้านบริการสาธารณสุข การบริการสาธารณะ ทั้งทางเดิน ลิฟท์ การขึ้นรถสาธารณะ สวนสาธารณะ ห้องน้ำสาธารณะ ฯลฯ รวมถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสำหรับผู้สูงอายุ สวัสดิการและการสังคมสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสูงอายุที่ยากจนที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอนาคต การวางแผนรองรับสังคมสูงอายุจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะในเรื่องสวัสดิการที่ต้องทำอย่างเพียงพอและทั่วถึง เนื่องจากในอนาคต จะมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรืออยู่คนเดียว นอกจากนี้ การจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุมีความจำเป็นเช่นกัน เพราะผู้สูงอายุเป็นบุคลากรที่สั่งสมประสบการณ์ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อสังคม อีกทั้ง การเรียนรู้ยังช่วยลดความซึมเศร้าและโรคทางสมองอีกด้วย





ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของนิตยสาร การศึกษาอัพเกรด กับ วิชาการดอทคอม
ปีที่ 2 ฉบับที่ 092 ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม - สิงหาคม 2551
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด






กาชาด เปิดตัวโครงการ สวางคนิเวศ


'ชีวิตอิสระ มีคุณค่า พึ่งพาตนเอง'

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 สภากาชาดไทยได้ริเริ่มโครงการที่พักอาศัยให้แก่ผู้สูงอายุ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามว่า “สวางคนิเวศ” แต่เนื่องจากปัจจุบันสถิติจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และมีแนวโน้มเพิ่มเป็นร้อยละ 20-30 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในอนาคต สภากาชาดไทยจึงรองรับความสะดวกสบายให้ผู้สูงอายุด้วยการเปิดตัวคอนโดฯ ต้นแบบส่วนต่อขยายจากโครงการแรก ด้วยอาคารพักอาศัยสูง 6 ชั้น จำนวน 8 อาคารรวม 300 ห้อง เป็นอาคารชุดพักอาศัยที่สร้างขึ้นสำหรับผู้สูงอายุในแนวคิด “ชีวิตอิสระ มีคุณค่า พึ่งพาตนเอง” เน้นการออกแบบให้เหมาะสม และเป็นมิตรกับผู้สูงอายุพร้อมการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อาทิ  สระว่ายน้ำบำบัด, ห้องออกกำลังกาย, ลานสุขภาพ, ห้องสมุด, ห้องพระ, ห้องกายภาพบำบัด และห้องพยาบาลพร้อมพยาบาลประจำอาคาร
    

สภากาชาดไทยเปิดตัวคอนโดต้นแบบเพื่อผู้สูงอายุ แบรนด์ “สวางคนิเวศ” อาคารชุดพักอาศัยที่สร้างขึ้นเฉพาะผู้สูงอายุ ในแนวคิด “ชีวิตอิสระ มีคุณค่า พึ่งพาตนเอง” ราคาเริ่มต้นยูนิตละ 850,000 บาท พื้นที่ใช้สอย 40 ตารางเมตร บริหารชุมชนอย่างมืออาชีพ การันตีสุขภาพดีโดยผู้ชำนาญการสภากาชาดไทย พร้อมชมห้องตัวอย่างแล้ววันนี้ โดยจะเปิดจองสิทธิ์ตั้งแต่ 21 พฤษภาคม เป็นต้นไป

นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย กล่าวถึงความเป็นมาของ “โครงการที่พักผู้สูงอายุ อาคารสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย” ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบสำหรับที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ และศูนย์การสนับสนุนงานวิจัยและการเรียนการสอน (Research and Training Center) โดยไม่ได้แสวงหาผลกำไร ภายใต้การดำเนินงานของสภากาชาดไทย ว่า

“อาคารสวางคนิเวศหลังปัจจุบันหลังนี้ สภากาชาดไทยได้ก่อสร้างเพื่อถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 40 พรรษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่พักอาศัยคุณภาพสำหรับผู้สูงอายุ  ทั้งในด้านสภาพแวดล้อม และการดูแลสุขภาพกายและใจ โดยเล็งเห็นว่า ที่อยู่อาศัยมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ดีจะสามารถช่วยยืดระยะเวลาในการพึ่งพาออกไปได้

โดยเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ และทรงพระกรุณาพระราชทานนามอาคารว่า “อาคารสวางคนิเวศ” หมายถึง “สถานที่อยู่อาศัยที่มีความสุขเหมือนสวรรค์” เป็นอาคารพักอาศัยอาคารแรกสูง 8 ชั้น ประกอบด้วยห้องพักจำนวน 168 ห้อง ซึ่งปัจจุบันมีผู้จองสิทธิ์เต็มหมดทุกห้อง 

ภายในโครงการ มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ  เช่น  ห้องออกกำลังกาย ห้องสมุดพร้อมอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ห้องพระ ห้องประชุม ห้องกายภาพบำบัด ห้องพยาบาลพร้อมพยาบาลประจำอาคารทุกวัน หลังจากเปิดให้บริการ  ปรากฏว่ามีผู้สูงอายุหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น คณาจารย์ ข้าราชการ และผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก สอบถามเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สภากาชาดไทยจึงมีแนวความคิดที่จะพัฒนาโครงการสวางคนิเวศ  ส่วนต่อขยายขึ้นในบริเวณเดียวกัน

ด้าน ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศักดิ์ชัย  ลิ้มทองกุล ประธานคณะกรรมการดำเนินงานที่พักผู้สูงอายุสวางคนิเวศ ส่วนต่อขยาย กล่าวเพิ่มเติมถึงรายละเอียดของโครงการว่า สภากาชาดไทยจึงได้มีแนวคิดที่จะสร้างอาคารสวางคนิเวศ ส่วนต่อขยายขึ้นภายในบริเวณเดียวกัน (ทำเลถนนสุขุมวิทสายเก่า ระยะเดินทาง 5.5 กม. จากถนนศรีนครินทร์) ติดชายทะเลบางปู)  ประกอบด้วยอาคารพักอาศัยสูง 6 ชั้น จำนวน 8 อาคาร รวม 300 ยูนิต  พื้นที่ใช้สอยยูนิตละประมาณ 40 ตารางเมตร มูลค่าโครงการรวม 270 ล้านบาท

 สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิพักอาศัยในโครงการสวางคนิเวศ ส่วนต่อขยาย ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปี และไม่สามารถสืบทอดสิทธิ์ในการพักอาศัย ค่าสนับสนุนสำหรับสิทธิการเข้าอยู่อาศัยมีอัตรา 850,000 บาท ขึ้นไป ค่าบำรุงรายเดือนยูนิตละ 2,500 บาท ต่อเดือน ไม่รวมค่าไฟฟ้า ประปา โดยมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปลายปี 2555 สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมห้องตัวอย่างได้แล้ววันนี้ ที่สำนักงานขายโครงการสวางคนิเวศ ซึ่งจะเปิดให้จองสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป.



    
       
ด้านผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตอยู่ในสวางคนิเวศมา 6 ปี นายณรงค์ ศรีวิเชียร อายุ 68 ปี ประธานกรรมการผู้สูงอายุอาคารสวางคนิเวศ เผยว่า อยู่ที่นี่แล้วรู้สึกสุขกายสบายใจ ไร้กังวล มีสนามสวย ๆ บริเวณกว้างให้ได้ออกกำลังกาย ถ้าอยู่ที่กรุงเทพฯ ต้องเหนื่อยกับการดูแลและทำความสะอาดบ้าน แต่ที่นี่มีคนทำความสะอาดให้เรียบร้อย มีโรงยิม มีเพื่อน ๆ อยู่ร่วมกันหลายคนทำให้ไม่เหงา นอกจากนี้ยังมีการตรวจสุขภาพประจำปีให้ฟรี ขณะที่อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ น.ส.ประทานพร ทวีโภค อายุ 70 ปี มาอยู่ที่สวางคนิเวศตั้งแต่เกษียณราชการ เพราะต้องการความเป็นอิสระและไม่อยากพึ่งพิงหรือเป็นภาระของคนอื่น ประทับใจอากาศอันบริสุทธิ์ ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และการบริการที่ดีของเจ้าหน้าที่. สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามว่า “สวางคนิเวศ” แต่เนื่องจากปัจจุบันสถิติจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และมีแนวโน้มเพิ่มเป็นร้อยละ 20-30 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในอนาคต สภากาชาดไทยจึงรองรับความสะดวกสบายให้ผู้สูงอายุด้วยการเปิดตัวคอนโดฯ ต้นแบบส่วนต่อขยายจากโครงการแรก ด้วยอาคารพักอาศัยสูง 6 ชั้น จำนวน 8 อาคารรวม 300 ห้อง เป็นอาคารชุดพักอาศัยที่สร้างขึ้นสำหรับผู้สูงอายุในแนวคิด “ชีวิตอิสระ มีคุณค่า พึ่งพาตนเอง” เน้นการออกแบบให้เหมาะสม และเป็นมิตรกับผู้สูงอายุพร้อมการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อาทิ  สระว่ายน้ำบำบัด, ห้องออกกำลังกาย, ลานสุขภาพ, ห้องสมุด, ห้องพระ, ห้องกายภาพบำบัด และห้องพยาบาลพร้อมพยาบาลประจำอาคาร
    
ในงานเปิดตัวโครงการคอนโดฯ ต้นแบบส่วนต่อขยาย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ อาคารสวางคนิเวศ บางปู จ.สมุทรปราการ ศ.นพ.ศักดิ์ชัย ลิ้มทองกุล ประธานคณะกรรมการการดำเนินงานที่พักผู้สูงอายุสวางคนิเวศ ส่วนต่อขยาย และ พญ.นาฏ ฟองสมุทร อนุกรรมการบริหารอาคารสวางคนิเวศ ให้การต้อนรับ นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย ร่วมชมห้องตัวอย่างพร้อมกล่าวถึงความเป็นมาว่า อาคารสวางคนิเวศหลังปัจจุบันประกอบด้วยห้องพักจำนวน 168 ห้อง สร้างเพื่อถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 40 พรรษา เพื่อให้เป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุทั้งในด้านสภาพแวดล้อมและการดูแลสุขภาพกายและใจ รวมทั้งมีความอุ่นใจเมื่อยามแก่เฒ่า แต่ในปัจจุบันได้ขยายโครงการเดิมเพื่อรองรับผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่ต้องการเข้ามาใช้ชีวิตแบบส่วนนี้ในลักษณะนี้
             
ด้านผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตอยู่ในสวางคนิเวศมา 6 ปี นายณรงค์ ศรีวิเชียร อายุ 68 ปี ประธานกรรมการผู้สูงอายุอาคารสวางคนิเวศ เผยว่า อยู่ที่นี่แล้วรู้สึกสุขกายสบายใจ ไร้กังวล มีสนามสวย ๆ บริเวณกว้างให้ได้ออกกำลังกาย ถ้าอยู่ที่กรุงเทพฯ ต้องเหนื่อยกับการดูแลและทำความสะอาดบ้าน แต่ที่นี่มีคนทำความสะอาดให้เรียบร้อย มีโรงยิม มีเพื่อน ๆ อยู่ร่วมกันหลายคนทำให้ไม่เหงา นอกจากนี้ยังมีการตรวจสุขภาพประจำปีให้ฟรี ขณะที่อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ น.ส.ประทานพร ทวีโภค อายุ 70 ปี มาอยู่ที่สวางคนิเวศตั้งแต่เกษียณราชการ เพราะต้องการความเป็นอิสระและไม่อยากพึ่งพิงหรือเป็นภาระของคนอื่น ประทับใจอากาศอันบริสุทธิ์ ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และการบริการที่ดีของเจ้าหน้าที่.










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น