สาหร่ายเกลียวทอง คือ โปรตีน ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิดในสัดส่วนที่เหมาะสมในสาหร่ายเกลียวทองนั้นมีคุณค่าทางอาหารเหนือกว่าอาหารชนิดอื่น คือมีปริมาณโปรตีนถึงกว่า 65% ของน้ำหนักแห้ง ซึ่ง สูงกว่าปริมาณโปรตีนที่มีในเนื้อสัตว์หรือในไข่ถึง 3/2 เท่า ถือว่า สาหร่ายเกลียวทอง เป็นอาหารพิเศษที่ประกอบด้วยเนื้อโปรตีนแท้ๆ นอกจากนี้ยังประกอบด้วย คลอโรฟิลล์ และ ไฟโคไซยานิน จำนวนมาก มีโปรวิตามิน ซึ่งเป็นสารที่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ ซึ่งเป็น คุณสมบัติเฉพาะของสาหร่ายเกลียวทอง จะเห็นว่าสาหร่ายเกลียวทอง มีสีเขียวแกมน้ำเงิน และรวมไปถึงทั้งกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการ เราลองมาดูตารางเปรียบเทียบ สาหร่ายเกลียวทอง (แห้ง) เปรียบเทียบปริมาณ โปรตีน กันค่ะ
ปริมาณโปรตีน
สาหร่ายเกลียวทอง 60-71 %
เนื้อวัว 18-20 %
ไข่ 10-25 %
ข้าวสาลี 6-10 %
ข้าวเจ้า 7 %
ถั่วเหลือง 33-35 %
ปลาทู ปลาอินทรี 20 %
นอกจากนั้น สาหร่ายเกลียวทอง ยังประกอบไปด้วย กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกาย ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งในสาหร่ายเกลียวทอง มี กรดอะมิโน ทั้ง 18 ชนิด ที่ร่างกายต้องการดังนี้คือ
ไอโซลิวซีน จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และพัฒนาการเรียนรู้ (IQ)
ลิวซีน กระตุ้นการทำงานของสมอง เพิ่มกำลังให้กล้ามเนื้อ ช่วยให้เซลล์ประสาทแข็งแรงขึ้น
ไลซีน ทำให้ระบบเส้นเลือดแดงแข็งแรง ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์
เมไทโอนีน บำรุงรักษาตับ ต้านความเครียด ทำให้ประสาทผ่อนคลาย
เฟนนิลอะลานีน ใช้สร้างไทรอกซิน กระตุ้นกอัตราการย่อย และสลายอาหารเพื่อเป็นพลังงาน
ทรีโอนีน ทำให้ลำไส้ทำงานดีขึ้นเพิ่มการดูดซึม
แวลี ช่วยกระตุ้นความจำ
อะลานีน ทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง
แอสพาร์ติก ช่วยเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล
อาร์จินีน เป็นส่วนประกอบของน้ำเชื้อเพศชาย และช่วยในการกำจัดสารพิษ
ทริพโตเฟน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวิตามินบี จิตใจเยือกเย็นสงบ
กลูตามิก นำกลูโคสเข้าสู่เซลล์สมอง ช่วยลดพิษอัลกอฮอล์ และช่วยทำให้มีสติ
อีสติตีน ช่วยให้การส่งผ่านความรู้สึกของระบบประสาทดีขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องหู
ซีลีน ช่วยในการสร้างเยื่อหุ้มรอบเส้นประสาท เพื่อป้องกันอันตรายในเส้นประสาท
ซีสทีน บำรุงตับอ่อน ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
โปรตีน เป็นสารต้นตอของกลูตามิกแอซิด
กลัยซีน เพิ่มพลังงานและการใช้ออกซิเจนของเซลล์
ไทโรซีน ชะลอความแก่ของเซลล์
ในประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่เคยมีการศึกษาทดลองใช้สาหร่ายเกลียวทอง และศึกษาผลของสาหร่ายเกลียวทองที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ ถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับมาเป็นเวลานานแล้วว่าสาหร่ายเกลียวทองมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างยิ่งก็ตามในทางกลับกัน แพทย์ชาวญี่ปุ่นและเม็กซิกันกลับให้ความสนใจ อย่างลึกซึ้งในการนำสาหร่ายเกลียวทองไปใช้เสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่มนุษย์
การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าสาหร่ายเกลียวทองเป็นสิ่งที่ใช้เสริมการรักษาของแพทย์ และให้ผลดีโดยเฉพาะในกลุ่มคนไข้ที่มีภาวะทุพโภชนาการเรื้อรังเป็นสาเหตุของโรค อย่างไรก็ดี มีตัวอย่างบางกรณีที่แสดงถึงความสามารถของสาหร่ายเกลียวทองในการทำให้เกิดการรักษาตนเอง ที่ทำให้เราทราบว่ามีเรื่องที่มนุษย์ยังไม่ล่วงรู้อีกมากมายเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ของสาหร่าย
ยณะนี้องค์การอาหารและยาได้จัดสาหร่ายเกลียวทองเป็นเพียงผักชนิดหนึ่งเป็นอาหารเหมือนเช่นอาหารที่รับประทานทั่วไป ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะแอบอ้างสรรพคุณในการรักษาโรค แต่อาหารที่ดีก็เปรียบเสมือนยาวิเศษ สำหรับผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ควบคู่ไปกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งสาหร่ายเกลียวทองจะช่วยเสริมและขยายอำนาจ การรักษาของยานอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดีอยู่แล้วเพื่อเป็นปราการในการป้องกันโรค หรือผู้ที่มีสภาพต่างๆ ดังนี้ เช่น
- เหนื่อยง่าย
- เป็นหวัดง่าย
- วิงเวียนศรีษะอยู่เสมอ
- รู้สึกเจ็บถึงกระดูกเมื่อกดเนื้อเบาๆ
- หญิงมีครรภ์ กินผัก
- กินผักสีเขียวหรือผักสีเหลืองไม่เพียงพอ
- ไม่รับประทานอาหารเช้า
- กำลังอดอาหารเพื่อลดความอ้วน
- ชอบหรือไม่ชอบอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างรุนแรง
จนก่อให้เกิดอาการขาดสารอาหาร
- มีอาารท้องผูกเป็นประจำ
อาการผิดปกติในร่างกายที่ทำให้เกิดโรคนั้นมีหลายอย่างและกว่า 90% ของอาการผิดปกตินั้นเกิดจากการรับประทานอาหารที่บกพร่องไม่เพียงพอหรือไม่ถูกส่วน
ข้อมูล จาก หนังสือ " ความลับของสาหร่ายเกลียวทอง ผลการรักษาโรคที่นายแพทยชาวญี่ปุ่นค้นพบ" แปลจาก " The secrets of Spirulina Discoveries of Japanese Doctors " งานแปลของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ อันดับที่ 105 แปลโดย คุณเจียมจิตต์ บุญสม
สุขภาพดีได้ด้วยต้นทุนต่ำ
รับคำปรึกษาฟรีเรื่องประโยชน์ของสาหร่ายเกลียวทอง
ต่อสุขภาพ ได้ฟรี ที่ 02-9665556
สาหร่ายเกลียวทอง สไปรูไลน่า ชนิดแคปซูล และขนิดอัดเม็ด
บริษัท กรีนไดมอนด์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคุณภาพ ผลิตจากสาหร่ายเกลียวทอง จีดี-1 (Spirulina GD-1) จำหน่ายในรูปของชนิดผงอัดเม็ด และชนิดแคปซูลบรรจุอยู่ในขวดที่สะอาด ได้มาตรฐาน และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามหมายเลขอนุญาต ที่ ผ.39/2535 ในขนาดบรรจุต่างๆ กัน เพื่อความสะดวกของผู้บริโภค
สาหร่ายเกลียวทอง จีดี-1ผลิตภัณฑ์คุณภาพและได้มาตรฐาน จนได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ดีเด่น ในปี พ.ศ. 2538 จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทยและยังได้รับ การพิสูจน์และยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก
คุณจึงมั่นใจในคุณภาพของจีดี-1 ได้ ด้วยคุณค่าทางสารอาหารและโภชนาการที่ท่านจะได้รับจากการรับประทานสาหร่ายเกลียวทอง ที่แม้แต่องค์การอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ยอมรับว่าเป็น อาหารที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต (The Best Food for Tomorrow)
งานวิจัย องค์ประกอบของสาหร่ายเกลียวทอง
งานวิจัย จุลโภชนาหารที่เป็นแหล่งพลังงาน
-ทองสีเขียวแห่งโลกอนาคต
-ผู้แต่ง
-ประวัติและที่มา
-สาหร่ายเกลียวทองคืออะไร
-องค์ประกอบ
-คุณค่าทางโภชนาการ
-เกี่ยวกับสุขภาพ
-วิธีการใช้
-เอกสารอ้างอิง
- บทสรุป
ทำไมสาหร่ายเกลียวทองจึงถูกเรียกว่า "ทองสีเขียวแห่งโลกอนาคต" ทั้งนี้ก็เพราะ แม้จะเป็นเพียงอาหารธรรมดาจากแหล่งน้ำของโลก แต่สาหร่ายเกลียวทองกลับมีโปรตีนที่สมบูรณ์มากกว่า
ในเนื้อเสต็ก มีองค์ประกอบของแร่ธาตุอย่างมากมาย มีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์หลากหลายชนิดทั้งยังอุดมไปด้วยเอนไซม์ที่มีประโยชน์ต่างๆ อย่างไรก็ดี สาหร่ายเกลียวทองยังเป็นยิ่งกว่าอาหาร
จากผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าสาหร่ายเกลียวทองมีคุณประโยชน์ต่อการควบคุมน้ำหนัก โรคภูมิแพ้ ปัญหาทางสายตา ความผิดปกติของคาร์โบไฮเดรท โรคโลหิตจาง และอาการของโรคอื่นๆ อีกมากมาย
หนังสือเล่มนี้บอกกล่าวเรื่องราวที่น่าทึ่งของสาหร่ายเกลียวทองและประโยชน์ด้านโภชนาการและสุขภาพที่สาหร่ายเกลียวทองสามารถสร้างให้แก่ท่าน
แจ็ค โจเซฟ ชาลเล็ม เป็นหนึ่งในนักเขียนเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและโภชนาการที่มีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอในปัจจุบัน ข้อเขียนของเขาและบทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Orhomolecular
nutrition เช่น ดร.ไลนัส พอลิ่ง, วิลเฟิร์ด อี ชูท และ อับราม ฮอฟเฟอร์ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆปรากฏอย่างสม่ำเสมอในวารสาร Let's Live, Bestways, The Health Quarterly และสิ่ง
ตีพิมพ์ทั่วไปด้านวิชาการและผู้บริโภค เขาและภรรยาผู้ซึ่งเป็นนักเขียนในสาขาสุขภาพและโภชนาการเช่นเดียวกัน ต่างเป็นนักเขียนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของหนังสือชื่อ What Herbs Are All About
ประวัติความเป็นมา
อาหารขั้นพื้นฐานที่สุด
เมื่อชีวิตแรกอุบัติขึ้นบนพื้นผิวของโลกนั้น น่าจะเป็นเพียงแค่เซลล์เดียวธรรมดา ล่องลอยอยู่ในสารชีวเคมีเข้มข้นที่ประกอบกันขึ้นเป็นน้ำของดาวเคราะห์ดวงนี้ สิ่งมีชีวิตที่ปรากฏอยู่บนบกและมี
หลายเซลล์ซับซ้อนนั้น เคยเป็นพวกแรกๆ ที่ได้ผ่านช่วงเวลาแห่งวิวัฒนาการมาสู่อนาคตในระยะเริ่มต้นของยุคดึกดำบรรพ์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ล่องลอยอยู่ในน้ำอย่างสงบสุขและอบอุ่นภายใต้แสงอาทิตย์
เริ่มกลายเป็นเสมือนโรงงานจุลเคมีที่ผลิตโปรตีน, คาร์โบไฮเดรท, กรดอะมิโน, วิตามิน, เอนไซม์, และสารเคมีชีวภาพอื่นๆ ที่เราได้ทราบกันต่อมาว่ามีอยู่ในห้วงจักรวาล
จากการเปลี่ยนแปลงอันน่ามหัศจรรย์โดยไม่มีสิ่งใดมารบกวน รูปแบบของชีวิตได้พัฒนาผ่านช่วงเวลานับพันๆ ปี สิ่งที่สืบทอดมาจากเซลล์ที่พัฒนาแล้วเหล่านี้ ยังคงดำรงระบบการแปรรูป
พลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นอาหารอันบริสุทธิ์อย่างต่อเนื่อง โรงงานผลิตอาหารขนาดเล็กจิ๋วแต่ทรหดเหล่านี้ก็คือสาหร่าย (Algae)
สาหร่ายเซลล์เดียวที่ถูกจำแนกพวกให้เป็น Monera ตามความหมายทางชีววิทยา คือโรงงานผลิตอาหารแห่งแรกของโลก ซึ่งต้องอาศัยพลังงานของดวงอาทิตย์ในการสร้างสรรค์สาร
อาหารบำรุงเลี้ยงชีวิตโดยผ่าน กระบวนการสังเคราะห์แสง ความเรียบง่ายของสาหร่ายช่วยลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นและการสูญเสียพลังงานลง ทำให้เซลล์สามารถมุ่งเน้นเฉพาะกิจกรรมการผลิตอาหาร
แต่เพียงอย่างเดียวสำหรับคนที่สนใจในความบริสุทธิ์ของอาหาร คำกล่าวที่ว่าให้รับประทาน "สิ่งที่อยู่ล่างสุดของห่วงโซ่อาหาร" เป็นความจริงที่ไม่ต้องท้าพิสูจน์มาเป็นเวลานานแล้ว เนื่องจากอาหารที่เรียบง่าย
แสดงว่าเป็นอาหารที่มีความเข้มข้นของการปนเปื้อนน้อยกว่า สาหร่ายมิใช่จะอยู่ในส่วนล่างสุดของห่วงโซ่อาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นฐานและเป็นจุดแรกเริ่มที่สร้างอาหารขึ้นด้วย
สาหร่ายเกลียวทอง คือ สาหร่ายหลายเซลล์ธรรมดาชนิดหนึ่งซึ่งเจริญเติบโตในน้ำอุ่นที่มีความเป็นด่างสูง ชื่อของ "สาหร่ายเกลียวทอง" หรือ "Spirulina" ได้มาจากคำ "helix" หรือ "spiral" ในภาษาละตินซึ่งแสดงถึงลักษณะทางกายภาพของสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างบิดวนเป็นเกลียว
สาหร่ายเกลียวทองถูกพัฒนาขึ้นมาเป็น "อาหารแห่งอนาคต" เพราะความสามารถที่น่าทึ่ง ในการสังเคราะห์อาหารเข้มข้นคุณภาพสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าสาหร่ายชนิดอื่นๆ ที่เด่น
ที่สุดคือ 65-71% ของสาหร่ายเกลียวทองเป็นโปรตีนสมบูรณ์ที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณที่สมดุลอย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อวัวที่มีโปรตีนเพียง 22% เท่านั้น
สาหร่ายเกลียวทองมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงถึง 8-10% เมื่อเทียบกับพืชที่เจริญเติบโตบนบกอย่างถั่วเหลืองที่มีอัตราการสังเคราะห์แสงเพียงแค่ 3%
นอกจากนี้ สาหร่ายเกลียวทองยังเป็นหนึ่งในพืชไม่กี่ชนิดที่เป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ซึ่งวิตามินชนิดนี้มักพบในเนื้อเยื่อของสัตว์เท่านั้น สาหร่ายเกลียวทอง 1 ช้อนชา ให้วิตามินบี 12
มากเป็น 2 เท่าครึ่งของที่กำหนดไว้ในปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน (RDA) และยังมีจำนวนมากกว่า 2 เท่าของวิตามินบี 12 ที่พบในตับในปริมาณที่เท่ากัน
สาหร่ายเกลียวทองยังให้คุณค่าทางโภชนาการด้านอื่นๆ ด้วยความเข้มข้นสูง เช่นกรดอะมิโน, แร่ธาตุชนิดต่างๆ, สารให้สี, น้ำตาลแรมโนส (น้ำตาลที่ได้จากพืชที่มีโครงสร้างซับซ้อน),
ธาตุเฉพาะอย่างที่พบน้อยมากในพืชและสัตว์, และเอนไซม์ ทุกสิ่งล้วนอยู่ในรูปแบบที่สามารถย่อยและดูดซึมได้ง่าย
ถึงแม้ว่าสาหร่ายเกลียวทองจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก แต่ก็จัดว่ามีขนาดค่อนข้างใหญ่ คือมีความยาวถึง 0.5 มิลลิเมตร ใหญ่กว่าสาหร่ายชนิดอื่นๆ นับ 100 เท่า ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นเซลล์
บางเส้นที่เรียงต่อกันของสาหร่ายเกลียวทองได้ด้วยตาเปล่า ยิ่งไปกว่านั้น ความสามารถในการแพร่พันธุ์ได้อย่างมากมายของเซลล์และนิสัยที่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มทำให้สาหร่ายเกลียวทองกลายเป็นกลุ่ม
มวลพืชที่มีขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดาย
สาหร่ายมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามความเข้มของสี และถูกจำแนกออกเป็นสีเขียวแกมน้ำเงิน, สีเขียว, สีแดง, และสีน้ำตาล สาหร่ายเกลียวทองเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิดหนึ่ง ตามสี
ที่ปรากฏในโครงสร้างของเซลล์ ทั้งสีเขียวของคลอโรฟิลล์ และสีน้ำเงินของไฟโคไซยานิน ถึงแม้ว่าสาหร่ายเกลียวทองจะมีความเกี่ยวพันกันห่างๆ กับสาหร่ายเคล์พ แต่สาหร่าย
เกลียวทองไม่ใช่พืชทะเล อย่างไรก็ดี บึงน้ำจืดและทะเลสาปที่สาหร่ายเกลียวทองชอบก็มีความเค็มสูงอย่างเห็นได้ชัด ด้วยค่า pH ระหว่าง 8-11 มากกว่าในทะเลสาปธรรมดา และทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
รูปแบบอื่นๆ ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น สาหร่ายเกลียวทองยังเจริญเติบโตได้ดีในน้ำอุ่นจัดระหว่าง 32-45 องศาเซลเซียส (ประมาณ 85-112 องศาฟาเรนไฮท์) และยังสามารถทนอยู่ได้ใน
อุณหภูมิที่สูงถึง 60 องศาเซลเซียส (140 องศาฟาเรนไฮท์) อีกด้วย
สาหร่ายเกลียวทองสายพันธุ์หนึ่งที่ปรับตัวอยู่ในทะเลทราย จะยังคงดำรงชีพอยู่ได้เมื่อหนองน้ำที่เป็นถิ่นที่อยู่ของมันเหือดแห้งไปภายใต้แสงอาทิตย์อันร้อนแรง มันจะค่อยๆ แห้งลงเข้าสู่
ระยะพักตัวจนติดอยู่กับก้อนหินที่ความร้อนสูงถึง 70 องศาเซลเซียส (160 องศาฟาเรนไฮท์) ในระยะพักตัวนี้เองสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจะค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นสีขาวใสและมีรสหวานมากขึ้นตามลำดับ
อันเนื่องมาจากโครงสร้างโปรตีน 71% นั้น แปรรูปไปเป็นน้ำตาลโพลีแซกคาไรด์ด้วยความร้อน
นักวิทยาศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่า "แมนนา" อาหารศักดิ์สิทธิ์จากพระเจ้าของชาวอิสราเอลผู้เร่ร่อนซึ่งปรากฎขึ้นอย่างปาฏิหาริย์บนก้อนหินภายหลังจากการทำลายล้างคำสาปแช่ง และได้รับการบรรยายว่ามีรส"เหมือนขนมปังกรอบชนิดบาง ที่ทำจากน้ำผึ้ง" อาจเป็นรูปแบบหนึ่ง
ของสาหร่ายเกลียวทองระยะพักตัวก็ได้
การที่สาหร่ายเกลียวทองสามารถเจริญงอกงามในสภาพแวดล้อมที่ร้อนและมีความเป็นด่างสูงนี้ ทำให้มั่นใจได้ในด้านสุขอนามัย เนื่องจากไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นใดสามารถคงอยู่และปนเปื้อนในน้ำ
ที่สาหร่ายชนิดนี้เจริญเติบโตได้ สาหร่ายเกลียวทองไม่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีความสัมพันธ์ที่ตายตัวอย่าง "เชื้อจุลินทรีย์" และ "ซากสกปรกที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ" เพราะสาหร่ายเกลียวทองนั้น
แท้ที่จริงแล้วเป็นอาหารที่สะอาดที่สุด ซึ่งได้รับการทำให้ปลอดเชื้ออย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุดชนิดหนึ่งเท่าที่เคยพบในธรรมชาติ
การปรับตัวได้ดีต่อความร้อนของมัน จึงทำให้มั่นใจได้ว่าสาหร่ายเกลียวทองยังคงรักษาคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้เมื่อต้องผ่านความร้อนสูงระหว่างกระบวนการผลิตและการเก็บรักษา
ไม่เหมือนกับอาหารจากพืชหลายชนิดที่เสื่อมคุณค่าลงอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิสูง
สาหร่ายเกลียวทองยังคงไม่ธรรมดาแม้ในหมู่สาหร่ายด้วยกัน เนื่องจากมันเป็น "Nuclear plant" ซึ่งหมายถึงว่าเป็นสิ่งที่มีวิวัฒนาการสูงถึงจุดที่เชื่อมต่อระหว่างความเป็นพืชกับความเป็นสัตว์ มันถูกตัดสินว่ามีสถานะค่อนข้างสูงกว่าความเป็นพืชก็เพราะไม่มีผนังหุ้มเซลล์ที่แข็งแบบเซลลูโลสเหมือนผนังเซลล์ของพืช ทั้งยังไม่มีนิวเคลียสที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามระบบการสันดาปของมันมี
พื้นฐานมาจากการสังเคราะห์ด้วยแสง อันเป็นกระบวนการในการผลิตพลังงานจากอาหารโดยใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์โดยตรงร่วมกับคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นรูปแบบวิถีชีวิตพื้นฐานของพืช
ตามความเป็นจริง สาหร่ายเกลียวทองเป็นทั้งพืชและสัตว์ในช่วงของการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์ถูกแยกออกจากกัน ดังนั้นมันจึงประมวลเอารูปแบบ
ที่สามัญที่สุดของชีวิตเข้าไว้ด้วยกัน ในทางกลับกันสาหร่ายชนิดอื่น เช่น คลอเรลลา ได้พัฒนาลักษณะของผนังเซลล์ที่แข็งและไม่สามารถย่อยได้ของพืชขึ้น
มีสาหร่ายเกลียวทองถึง 35 ชนิด แพร่พันธุ์อยู่ในทะเลสาปธรรมชาติที่มีความเป็นด่างสูงทั่วโลก เช่น ทะเลสาปชาด (ประเทศชาด), ทะเลสาปเทกซ์โคโค (ประเทศเม็กซิโก), ทะเลสาปรูดอล์ฟ,
ทะเลสาปนากูรา (ทั้งสองแห่งอยู่ในประเทศเคนยา) และมีอยู่ในแหล่งน้ำเล็กๆ หลายแห่งในพื้นที่ส่วนที่แห้งแล้งของโลก
เนื่องจากลักษณะที่บิดวนเป็นเกลียวของสาหร่าย ดูเหมือนเป็นลักษณะตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองจากสภาวะความเป็นกรด-ด่างและสารอาหาร จึงเป็นไปได้ว่าความแตกต่างของรูปร่างเป็นผลมาจาก
การผันแปรไปของสายพันธุ์
ประวัติของสาหร่ายเกลียวทอง
ความเป็นไปได้ที่ว่าแมนนาคือสาหร่ายอาจเป็นเพียงการคาดเดา แต่ก็ยังมีตัวอย่างทางประวัติศาสตร์อีกหลายเรื่องที่แสดงว่าสาหร่ายเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญได้ถูกบันทึกไว้
เมื่อผู้พิชิตชาวเสปนมีชัยชนะเหนืออาณาจักรแอซเทคของเม็กซิโก พวกเขาพบว่าชาวพื้นเมืองยังชีพด้วยข้าวโพด, ถั่วเหลือง, น้ำเต้า และฝ้าลึกลับสีเขียวที่ลอยอยู่เต็มทะเลสาปเท็กซ์โคโค
แห่งหุบเขาทีโอทิฮัวกัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเม็กซิโกซิตี้ในปัจจุบัน
ชาวแอซเทคเรียกสาหร่ายสีเขียวนี้ว่า "tecuitlatl" และถือเป็นสินค้าชนิดหนึ่งนอกเหนือจากการนำไปเป็นอาหารประจำวัน tecuitlatl นี้เป็นรูปแบบหนึ่งของสาหร่ายเกลียวทองที่ยังคงเจริญ
งอกงามอยู่ในทะเลสาปเท็กซ์โคโค
อารยธรรมของชาวแอซเทคมีความโดดเด่นในด้านความหรูหราฟุ้งเฟ้อ, การมีวัฒนธรรม, และการมีประชากรมากมายหลายเชื้อชาติ สิ่งที่สร้างความพิศวงให้แก่นักโบราณคดีเมื่อขุดค้นพบ
บันทึกทางวัฒนธรรมที่ถูกฝังไว้ก็คือ ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่ามีแหล่งให้โปรตีนคุณภาพสูงสำหรับดำรงความเจริญเช่นนั้นได้เลย สัตว์เลี้ยงชนิดต่างๆ ก็ขาดแคลน ทั้งนี้ก็เพราะวัว แกะ ม้า และสัตว์
ชนิดอื่นๆ ที่เรานำมาใช้ในการเพาะปลูกยังเป็นสัตว์ป่าในยุคโลกเก่า ทั้งยังหาได้ยากในดินแดนแอซเทค
เนื่องจากการบูชายัญมนุษย์และการกินเนื้อมนุษย์ก็เป็นลักษณะหนึ่งของสังคมแอซเทคด้วยจึงทำให้นักมานุษยวิทยาบางท่านตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นว่านี่คือแหล่งโปรตีนหลักของชาวแอซเทค อย่างไรก็ดี
เนื้อมนุษย์นั้นขึ้นชื่อว่าขาดวิตามินบี และไม่ใช่แหล่งโภชนาการที่ดีนัก
การที่ชาวแอซเทคบริโภคสาหร่ายเกลียวทองซึ่งเป็นโปรตีนสมบูรณ์ที่ย่อยง่าย จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่อธิบายได้ว่าเหตุใดประชาชนชาวแอซเทคจึงมีกำลังวังชาในการสร้างเมืองและวัด
Tenochtitlan ขนาดใหญ่มหึมา มีแรงทำสงครามกับพวกที่อยู่ในใจกลางของถิ่นเมโส-อเมริกันและมีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางศิลปะชั้นสูง, ความรู้ทางคณิตศาสตร์ และปรัชญาได้
เมื่อเข้ามาครอบครองแอซเทค ชาวสเปนไม่อาจจะเข้าใจความนิยมในการบริโภค tecuitlatlและชื่นชอบวิทยาการของ "chinampas" สวนลอยน้ำแห่งเทกซ์โคโคของชาวแอซเทคได้ ทั้งยัง
ไม่เคยรู้ว่าพืชน้ำสีเขียวไร้ค่าในทะเลสาปให้โปรตีนมากกว่าที่ผืนดินสามารถจะผลิตได้อีกด้วย พวกสเปนจึงเริ่มโครงการรุกล้ำหนองน้ำและถมดินเพื่อให้สามารถเพาะปลูกได้
ในปัจจุบัน ทะเลสาปส่วนใหญ่สูญหายไปหมดแล้ว แต่ก็น่าแปลกที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกตั้งอยู่บนพื้นที่ชายฝั่งส่วนที่เหลืออยู่ของทะเลสาปเทกซ์โคโค
ชาวแอซเทคมิใช่ชนเผ่าเดียวที่ยังชีพด้วยการใช้สาหร่ายเกลียวทองเป็นอาหารและโปรตีนหากยังเป็นวัฒนธรรมของชนเผ่ามายันแห่งยูคาตัน เพนนินซูลา ในอเมริกากลางอีกด้วย ชนเผ่ามายันยัง
ชีพอยู่อย่างลุ่มๆ ดอนๆ ในสภาพแวดล้อมของป่าดงดิบที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกขนาดใหญ่ ผิวดินของป่าดงดิบสูญเสียความอุดมสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว และในไม่ช้าก็กลายเป็นดินสีแดงแห้งผาก
จนเหมือนซีเมนต์ภายหลังจากถูกหักร้างถางพงและขาดต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุม ซึ่งแสดงว่าผืนดินสามารถให้ผลผลิตทางเกษตรได้เพียงแค่ปีหรือสองปีก่อนที่จะต้องปล่อยให้กลับสู่สภาพป่าดิบชื้นต่อไป
ตามเดิม
การเพาะปลูกแบบเลื่อนลอยอย่างนี้ ซึ่งดูไม่มีประสิทธิผลเลยสำหรับพวกเรา กลับเป็นสิ่งที่ชนเผ่ามายันผู้ไม่มีทางเลือกและต้องปล่อยให้สิ่งแวดล้อมเป็นไปตามธรรมชาติต้องทำ ในปัจจุบัน
เชื่อกันว่าการขุดสร้างหนองน้ำกระจายอยู่ทั่วไปตามส่วนที่โล่งของผืนป่าอาจกระทำเพื่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง เพราะได้มีการค้นพบระบบคลองส่งน้ำที่ซับซ้อนซึ่งอาจสร้างขึ้นเพื่อให้หนองน้ำ
มีน้ำเต็มตลอดเวลา เนื่องจากมีฝนตกในป่าเพียง 70 ถึง 90 นิ้วต่อปี นักโบราณคดีจึงตั้งทฤษฎีว่าคลองส่งน้ำถูกสร้างขึ้นเพื่อบำรุงเลี้ยงสาหร่ายในบ่อมากกว่าเพื่อให้การชลประทานแปลงเกษตร
การพัฒนาฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายน่าจะเป็นสิ่งที่อธิบายได้ว่าประชากรสองล้านคนของชนเผ่ามายันดำรงรักษาความรุ่งเรืองแห่งยุคคลาสสิก (ค.ศ. 900) ไว้ได้อย่างไร แม้อยู่ในสภาวะที่
การเกษตรไม่เอื้ออำนวย
การย้อนกลับมาค้นพบของยุคใหม่
ในปี 1964 นักพฤษศาสตร์ชาวเบลเยี่ยมชื่อ ฌอง เลียวนาร์ด (Jean Leonard) ได้ร่วมเป็นหนึ่งในคณะสำรวจทะเลทรายสะฮารา เมื่อคณะสำรวจเดินทางถึงทะเลสาปชาด เลียวนาร์ด
ได้สังเกตเห็นชาวพื้นเมืองเผ่า Kanembu กำลังตักเอาฝ้าสีเขียวในทะเลสาปขึ้นมาด้วยตะกร้าฟางจากนั้นก็ตากแห้งจนเป็นก้อน ก้อนเหล่านี้เรียกว่า "dihe" เป็นอาหารที่นิยมบริโภคและเป็นสินค้าที่
ซื้อขายกันในตลาดท้องถิ่น
ในทศวรรษ 1960 ความวิตกกังวลว่าแหล่งอาหารของโลกมีจำนวนลดน้อยลงกำลังทวีขึ้นเรื่อยๆ ฌอง เลียวนาร์ดได้ตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับสาหร่ายเกลียวทองว่าเป็นอาหาร และรายงานชิ้นนี้
ได้สะดุดความสนใจของวิศวกรชาวฝรั่งเศสจำนวนมาก ในปี 1967 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ ฮิโรชินากามูระ (Hiroshi Nakamura) ได้อ่านบทความเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับโครงการสาหร่ายเกลียวทอง
หลายๆ โครงการ ที่กำลังดำเนินการอยู่โดยศูนย์ปิโตรเลียมแห่งชาติฝรั่งเศส และเกิดความทึ่งว่าน่าจะเป็นไปได้
นากามูระมีความสนใจศักยภาพของสาหร่ายในด้านการเป็นแหล่งโปรตีนของโลกมานานแล้ว แต่เขาไม่เคยทราบเลยว่าสาหร่ายเกลียวทองเหนือกว่าสาหร่ายสายพันธุ์อื่นๆ ถึงเพียงนี้
ภายหลังจากที่ได้รับทราบข้อมูลนากามูระและเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น จึงกลายเป็นผู้บุกเบิกในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายเกลียวทองและพัฒนามาสู่การค้าในที่สุด
ปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่น สาหร่ายเกลียวทองได้รับการยอมรับว่าเป็นอาหารที่ดีเยี่ยมสำหรับเลี้ยงปลาสวยงามและสัตว์พื้นเมืองชนิดอื่นๆ และยังถูกใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อบำบัดรักษาอาการของ
โรคบางชนิดของมนุษย์อีกด้วย จากการที่ชาวญี่ปุ่นใส่ใจมาเป็นเวลานานแล้วเกี่ยวกับการผลิตอาหารให้ได้ปริมาณมากที่สุด โดยใช้พื้นที่และทรัพยากรอย่างจำกัด ทำให้ชาวญี่ปุ่นกลายเป็นผู้นำในการผลิต
และการบริโภคสาหร่ายเกลียวทอง
ช่างน่าขันที่การสร้างฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองที่ทะเลสาปเท็กซ์โคโคอีกครั้งหนึ่งนั้นแทบจะเรียกได้ว่าเกิดขึ้นโดยบังเอิญ โดยในปี 1943 บริษัทโสสะเท็กซ์โคโค (Sosa Texcoco
Company) ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อสกัดปูนขาวจากน้ำเกลือในทะเลสาป บริษัทไม่ได้ล่วงรู้เลยว่าอ่างพักน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อการนี้เป็นแบบที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการเจริญเติบโตของสาหร่ายเกลียวทอง
พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งในไม่ช้าก็กลายเป็นตัวก่อกวนเมื่อมีการเติบโตอย่างหนาแน่นจนทำให้อ่างอุดตัน
เมื่อความสนใจและงานวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายเกลียวทองแพร่หลายมากขึ้น บริษัทโสสะเท็กซ์โคโคจึงได้รับรู้ว่าตนเองมีโชคใหญ่อยู่ในกำมือ นอกเหนือจากการผลิตปูนขาว ปัจจุบันนี้บริษัทยัง
เก็บเกี่ยวสาหร่ายเกลียวทองได้วันละหนึ่งถึงสองตันอีกด้วย ซึ่งประเทศญี่ปุ่นรับซื้อไว้เกือบทั้งหมดแต่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคชาวอเมริกันที่ห่วงใยสุขภาพก็ได้กระตุ้นให้มีการส่งออกไปยัง
ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน
สาหร่ายเกลียวทองทีได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
ชมฟาร์ม และกรรมวิธีการผลิตสาหร่ายเกลียวทอง