Home




พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ

 พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ เป็นช้างป่า เกิดในป่าพนมสารคามรอยต่อของห้าจังหวัดในภาคตะวันออก ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา พรานป่ายิงแม่ช้างแล้วจับลูกช้างมาเลี้ยงไว้ ตั้งแต่อายุสี่เดือน โดยขาหน้าซ้ายได้รับบาดเจ็บเน่าเปื่อย ต่อมานายอนุสร ทรัพย์มนู ได้ออกเงินซื้อจากพราน และมอบให้อยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ ตั้งชื่อว่า เจ้าแต๋น [2] และนำไปอนุบาลที่ที่ทำการวนอุทยานเขาช่อง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จังหวัดตรัง (ปัจจุบันคือ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง) 

พระศรีเศวตศุภลักษณ์  เป็นช้างพังเผือก ลูกเถื่อน  เดิมชื่อเจ้าแต๋น ได้มาจาก จังหวัด ฉะเชิงเทรา เป็นช้างสำคัญในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อ ดามพหัสดินทร์   สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 7  พฤษภาคม พ.ศ. 2519 พระราชทานนามว่า "พระศรีเศวตศุภลักษณ์ อรรครัตนกริณี  ดามพหัสดีพิษณุพงศ์  ดำรงสุทธสกนธ์สุคนธชาติ เฉลิมราชกฤดาบารมี  ศรีตรังคพิเศษสุทธิ์ อุดมสารเลิศฟ้า "

รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีช้างเผือก 10 เชือก คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน พระเศวตวรรัตนกรี พระเศวตสุรคชาธาร พระศรีเศวตศุภลักษณ์ พระเศวตศุทธวิลาศ พระวิมลรัตนกิริณี พระศรีนรารัฐราชกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัชรกิริณี พระบรมนขทัศ


อนุสร ทรัพย์มนู 
อดีต
วุฒิสมาชิก
ประธานที่ปรึกษาผู้ว่ากทม.
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ปัจจุบัน
นายกสมาคมสุนัขพันธ์ไทยหลังอาน
นายกสมาคมขยายพันธ์สัตว์ป่า


โลกของเรากำลังป่วยครับ
ประชากรโลก เพิ่มวินาทีละ 3 คน

ปี 2010 เกือบ 7 พันล้านคน
วันที่ 11 กรกฏาคม วันประชากรโลก 

คุณจะช่วยโลกได้อย่างไร?
คุณช่วยได้

มาช่วยกันลดโลกร้อนกันเถอะ
ประหยัดการใช้พลังงาน
ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า
ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่คู่โลกของเรา
ตลอดกาล




กวางละองละมั่ง ตัวสุดท้าย


ละองละมั่ง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rucervus eldii เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ขนหยาบและยาว ในฤดูหนาวขนจะยาวมาก แต่จะร่วงหล่นจนดูสั้นลงมากในช่วงฤดูร้อน ในตัวผู้จะเรียกว่า ละอง ตัวเมียซึ่งไม่มีเขาจะเรียกว่า ละมั่ง แต่จะนิยมเรียกคู่กัน ละองตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนแผงคอที่ยาว ลูกแรกเกิดจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่รอบตัว และจุดนี้จะจางหายเมื่ออายุมากขึ้น ขอบตาและริมฝีปากล่างมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 150-170 เซนติเมตร ความยาวหาง 220-250 เซนติเมตร น้ำหนัก 95-150 กิโลกรัม

ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดได้แก่ ละองละมั่งพันธุ์ไทย หรือ ละองละมั่งอินโดจีน (R. e. siamensis) มีลักษณะสีขนอย่างที่บอกข้างต้น เขาจะโค้งขึ้น กางออกแล้วโค้งไปข้างหน้าคล้ายตะขอ ปลายเขาจะแตกออกเป็นแขนงเล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ที่ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันนี้มีฝูงใหญ่ที่สุดที่สวนสัตว์ดุสิต และ ละองละมั่งพันธุ์พม่า หรือ ตามิน ในภาษาพม่า (R. e. thamin) มีหน้าตาคล้ายละองละมั่งพันธุ์ไทย แต่สีขนจะออกสีน้ำตาลเหลือง กิ่งปลายเขาจะไม่แตกแขนงเท่าละองละมั่งพันธุ์ไทย พบกระจายพันธุ์อยู่ที่ตะเข็บชายแดนระหว่างไทยกับพม่า แถบเทือกเขาตะนาวศรี และชนิดสุดท้ายคือ ละองละมั่งมณีปุระ (R. e. eldii) พบในรัฐมณีปุระทางตะวันออกของอินเดียติดกับพม่า

ละองละมั่ง จะอาศัยและหากินในทุ่งหญ้าโปร่ง ไม่สามารถอยู่ในป่ารกชัฏได้ เนื่องจากเขาจะไปติดกับกิ่งไม้เหมือนสมัน (R. schomburgki) อาหารหลักได้แก่ หญ้า ยอดไม้ และผลไม้ป่าต่าง ๆ เป็นสัตว์ที่ชอบรวมฝูง ในอดีตอาจพบได้มากถึง 50 ตัว บางครั้งอาจเข้าไปหากินและรวมฝูงกับสัตว์ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่า อย่าง วัวแดง (Bos javanicus) หรือ กระทิง (B. gaurus) เพื่อพึ่งสัตว์เหล่านี้ในความปลอดภัย มีฤดูผสมพันธุ์ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ตั้งท้องนาน 8 เดือน สถานภาพปัจจุบันเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว และเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ละองละมั่งที่พบในธรรมชาติ ปัจจุบันนี้ ส่วนมาก เกิดจากการเพาะขยายพันธุ์โดยมนุษย์

ลูกเสือโคร่ง ที่เชื่องอยู่กับคนได


เสือโคร่ง มีโครโมโซมจำนวน 38 โครโมโซม (2 N = 38) มีความยาวโดยเฉลี่ยจากหัวไปจนถึงโคนหาง 1.4-2.8 เมตร หางยาว 60-95 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 130-260 กิโลกรัม มีขนลำตัวสีน้ำตาลเหลืองหรือเหลืองอมส้ม มีลายสีดำ พาดขวางตลอดทั้งลำตัวเป็นจุดเด่น ซึ่งลายเส้นนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เสือโคร่งแต่ละตัวจะมีลายไม่เหมือนกันเช่นเดียวกับลายนิ้วมือของมนุษย์ ส่วนหางมีแถบดำเป็นบั้ง ๆ หรือวงสีดำสลับน้ำตาล ปลายหางมีสีดำ โดยไม่มีพู่เหมือนสิงโต (P. leo) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุลเดียวกัน ขนใต้คาง คอ และใต้ท้องเป็นสีขาว ขนเหนือบริเวณตาเป็นสีขาวหรือเป็นแถบหรือเส้นสีดำพาดขวางเช่นกัน หลังใบหูมีสีดำและมีจุดสีขาวนวลอยู่ตรงกลาง อายุโดยเฉลี่ย 15-20 ปี

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) จากการสำรวจพบว่าปริมาณเสือโคร่งในผืนป่าของประเทศไทยมีอยู่ราว 200-250 ตัวเท่านั้น แต่มีแนวโน้มที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น[2][3] และปริมาณในธรรมชาติในพื้นที่อื่น ๆ รวมกันแล้วทั่วโลกมีประมาณ 3,200 ตัว[4]

เสือลายเมฆ  



เสือลายเมฆ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Clouded Leopard 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Neofelis nebulosa

ลักษณะทั่วไป
     ตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียวและมีลายเป็นวงใหญ่คล้ายก้อนเมฆ หูด้านในมีสีอ่อน ด้านนอกเป็นสีเข้มและมีจุดขาวที่หลังหู หน้าผากมีจุดสีเข้มหลายจุด หางยาวใหญ่มากและมีจุดตลอดหาง ขาค่อนข้างสั้นและเท้าใหญ่ 
       
ถิ่นอาศัย, อาหาร
     พบในเนปาล สิกขิมไปทางตะวันออกจนถึงตอนใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน ลงมาถึงพม่า ไทย มาเลเซีย บอร์เนียว และสุมาตรา ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค 
     เสือลายเมฆกินสัตว์เล็กเช่น นก งู ลิง ค่าง จนถึงลูกสัตว์ใหญ่ 

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     ชอบอยู่และหากินบนต้นไม้มากกว่าบนพื้นดิน มักนอนบนกิ่งไม้เพื่อกระโดดลงมาจับสัตว์กิน หากินเวลากลางคืน มักอยู่เป็นคู่ช่วยกันล่าเหยื่อ 
     เสือลายเมฆเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2-3 ปี ระยะตั้งท้องนาน 90-95 วัน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว ลูกหย่านมเมื่ออายุ 5 เดือน มีอายุยืนราว 17 ปี 

สถานภาพปัจจุบัน
     เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 

สถานที่ชม
      สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา



  

ความเป็นมา สวนสัตว์ป่าเปิดเขาเขียว  Khao Kheow Open Zoo


ขณะที่ผมศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ  ได้มีความคิดอยาก เห็นความอุดมสมบรูณ์ของป่าไม้เมืองไทย การปลูกป่า เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ จะต้องประกอบด้วยสัตว์ป่า ดั่งมีคำพูดว่า "ป่าใดไม่มีสัตว์ป่า ป่านั้นก็เหมือนเป็นป่าช้า" ทำให้เกิดความคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ จึงเริ่มต้นด้วยการนำเอากวางละองละมั่งที่มีเขาสวยงาม  จากเขตป่าชายแดนไทยลาวนำมาขยายพันธ์ที่เขาเขียว เริ่มตั้งสมาคมขยายพันธ์สัตว์ป่า " The Association of Wildlife Propagation."ขึ้น ได้รับความสนใจจากนักศึกษา ประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง และได้รับการสนับสนุนจากอดีตอธิบดีกรมป่าไม้     นายผ่อง เล่งยี้  ให้ใช้พื้นที่อุทธยานแห่งชาติเขาเขียว จังหวัดชลบุรี เริ่มดำเนินการในเบื้องต้น 


ละองละมั่งพันธุ์ไทย (R. e. siamensis)


ละองละมั่งพันธุ์พม่า (Recervus eldii thamin)

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นสวนสัตว์เปิดแห่งเดียวในประเทศไทยที่เลี้ยงสัตว์นานาพันธุ์กว่า 300 ชนิด จำนวนมากถึง 8,000 ตัว บนพื้นที่กว่า 5,000 ไร่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว – เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี มีบทบาทในการสร้างความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมเสือนานาชนิดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัย การอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ 


สิ่งที่น่าสนใจ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว




กรงนกใหญ่ พบกับนกนานาชนิดนับพันตัวกับชีวิตที่อยู่ในธรรมชาติบนเนื้อที่กว่า 5 ไร่ ชมไก่ฟ้าหายากหลายชนิด นกยูงและนกสวยงามจากต่าง ประเทศนานาชนิด


การแสดงความสามารถของสัตว์ เพื่อสาธิตให้น้องๆ ทราบถึงพฤติกรรม ความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าในทางนิเวศวิทยา ตลอดจนความสำคัญของสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ในธรรมชาติ พร้อมให้ผู้ชมได้สัมผัสกับสัตว์อย่างใกล้ชิดและร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับดารานักแสดงดาวเด่นอาทิ ชิมแปนซี มาคอว์ เหยี่ยว นาก ฯลฯ


สวนละมั่ง ละมั่งเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิดของไทยที่เปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด ปลอดภัย อิ่มใจ กับการให้อาหารด้วยตัวท่านเอง สร้างความสุขได้ทั้งครอบครัว


ไนท์ ซาฟารี เปิดมิติมหัศจรรย์กับการชมพฤติกรรมสัตว์ป่าในเวลากลางคืน นำชมโดยขบวนรถพ่วง (Auto Tram) ที่ทันสมัย ปลอดภัย ท่านจะได้พบสัตว์ป่าต่างๆ เช่น สมเสร็จ วัวแดง ช้าง ม้าลาย ลามา ยีราฟ นกอีมู ฯลฯ เป็นระยะทางราว 3.5 กม.


ศูนย์เสือ ตื่นตาตื่นใจไปกับ “หุบเสือป่า” สถานที่จัดแสดงพันธุ์แมวป่าแบบจำลองทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทย


สัตว์ดาวเด่น สวนสัตว์เปิดเขาเขียว


เสือขาว
               เสือขาวทั้ง 6 ตัวนี้ได้รับมาจากโครงการแลกเปลี่ยนสัตว ์ระหว่างองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยและสวนสัตว์แนชวิลล์ ( Captive Bred Animal Exchange Program) ซึ่งมีการลงนามไปเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2544 โดยองค์กรสวนสัตว์ฯ ได้ตกลงว่าจะนำเสือลายเมฆจำนวน 4 ตัวไปแลกกับเสือขาว แต่ขณะนี้ เสือลายเมฆขององค์กรสวนสัตว์ฯ ยังไม่ตกลูก ขณะที่เสือขาวของอเมริกาพร้อมแล้ว จึงได้ส่งมาให้ก่อน และนำมาไว้ที่สวนสัตว์เขาเขียว
สำหรับเสือขาวตัวแรกที่มนุษย์พบนั้นถูกจับได้จากป่า Rewa ในประเทศอินเดีย เมื่อ 50 ปีมาแล้ว (พ.ศ.2494) โดยแม่ของเสือขาวถูกฆ่าตาย Maharaja Shri Martand Singh จึงทรงนำลูกเสือขาวเพศผู้นี้มาเลี้ยงไว้ พร้อมประทานชื่อว่า “โมฮัน” และให้ขยายพันธุ์กับเสือโคร่งที่มีสีธรรมดาเพศเมีย ได้ลูก 3 ตัว เป็นสีส้มเหมือนแม่ทั้งหมด ต่อมาจึงเอาลูกเพศเมียมาผสมพันธุ์กับโมฮันอีกทีหนึ่ง จึงได้ลูกเสือสีขาวออกมาทั้งหมด 4 ตัว 


               เสือขาวไม่ใช่เสือเผือก เพราะเสือเผือกจะต้องไม่มีสีใด ๆ นอกจากสีขาว ขณะที่เสือขาวมีขนสีขาวคาดดำหรือน้ำตาล มีตาสีฟ้า ซึ่งเสือเผือกจะมีตาเป็นสีแดง ส่วนจุดเด่นอื่นของเสือขาว คือ มีจมูกและฝ่าเท้าสีชมพู ความจริงเสือขาวก็คือเสือโคร่งเบงกอลที่มียีนส์ขนสีขาวแทนสีส้มนั่นเอง ในสภาพการเพาะเลี้ยงเสือขาวอาจมีอายุยืนถึง 20 ปี จะตกลูกครั้งละ 3-4 ตัว ลูกของเสือขาวที่มีขนสีเหลืองเรียกว่า “พันธุ์ทาง” จะมีพันธุกรรมของเสือขาวอยู่ในเลือด ลูกรุ่นต่อมาจึงมีโอกาสเป็นสีขาวได้ ซึ่ง 1 ในเสือ 6 ตัวที่มาจากสหรัฐฯ ก็เป็นเสือขาวพันธุ์ทางเช่นกัน 


               ชาวป่าอินเดียเชื่อว่าเสือโคร่งสีขาวเป็นพญาเสือและเป็นเทพเจ้าผู้ทรงพลัง ดังนั้น จึงนิยมล่าเอาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเสือขาว เช่น หนวด หนังหน้าผาก หลังส่วนไหล่ (เพื่อนำมาเป็นผ้าคลุมไหล่ของหัวหน้าเผ่า) เล็บ เขี้ยว หาง มาเป็นเครื่องรางของขลัง จนเป็นสาเหตุให้เสือขาวสูญพันธุ์ในที่สุด