แนวทางการดำเนินการของ ททท. |
|
| 1. จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวแห่งชาติ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ | |
| 2. ทำการศึกษาหากลุ่มเป้าหมายและความต้องการของตลาด เพื่อวางแผนการตลาด และการพัฒนาบริการให้เป็นที่ยอมรับของตลาด | |
| 3. ผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มภาคเอกชนมาให้บริการรับกลุ่มเป้าหมายให้เป็นสมาคม เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้เป็นมาตรฐาน และจัดเป็น Package ที่มีคุณภาพเหมาะสม โดยผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | |
| 4. กำหนดช่องทางการตลาดที่เหมาะสมและชัดเจน เช่น จะต้องติดต่อผ่านสมาคม องค์กรเอกชนที่รวมตัวเพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมาย | |
| 5. พิจารณาและปรับปรุงการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆแก่กลุ่มเป้าหมาย | |
| | *** จัดตั้งศูนย์ One Stop Service สำหรับบริการกลุ่มเป้าหมาย | |
| | - | จัดทำมาตรฐานการบริการด้านต่างๆเช่น ระบบการจัดการ ที่พัก สถานพยาบาล ร้านอาหาร สิ่งอำนวยความสะดวก และกิจกรรมรองรับ (ปัจจุบันกรมส่งเสริมการส่งออกได้ดำเนินการด้านที่พักแล้ว) | |
| | - | ปรับปรุงขั้นตอนวิธีการตรวจลงตราให้สะดวก รวดเร็วขึ้นและมีมาตรฐานการตรวจสอบเพื่อคงไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศ | |
| | - | จัดทำคู่มือในการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้พำนักระยะยาวในประเทศไทย (ปัจจุบันกรมส่งเสริมการส่งออกได้จัดทำ directory ผู้ให้บริการ และ ททท. จัดทำคู่มือเชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย) | |
| | - | กำหนดมาตรฐานและจัดโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการบริการและด้านภาษา เช่น ล่าม แม่บ้านและบุคลากรทางด้านการดูแลสุขภาพ ฯลฯ | |
| | - | ปรับปรุงระบบเชื่อมโยงด้านการเงินระหว่างประเทศ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถโอนเงินเบิกจ่ายได้สะดวกและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น | |
| | - | ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนด้านธุรกิจบริการให้มีการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว โดยเน้นผู้ประกอบการคนไทยกลุ่มธุรกิจ SME เพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพคนไทย และการใช้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ | |
|
| 6. พิจารณาจัดทำระบบการตรวจสอบ | |
| | - | จัดทำระบบการตรวจสอบกลุ่มเป้าหมาย ด้านประวัติอาชญากรรม สุขภาพ และฐานะทางการเงินเพื่อกลั่นกรองกลุ่มเป้าหมายไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ | |
| | - | จัดทำระบบการตรวจสอบประวัติของผู้ประกอบการและมาตรฐานการบริการที่เกี่ยวเนื่อง | |
| | - | จัดทำระบบติดตามและประเมินผลเพื่อให้ทราบถึงประโยชน์และผลเสียแท้จริงที่เกิดขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนให้ทราบถึงความพอใจของกลุ่มเป้าหมาย และแนวทางการปรับปรุงต่างๆ | |
|
| หน้าที่ 1 | 2 | 3 | 4 | หน้าต่อไป >>
ตลาด ความต้องการ และการรองรับ | |
|
| กลุ่มเป้าหมายหลัก | |
| จากแนวโน้มของประชากรโลกพบว่าตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เริ่มต้นขึ้น ประชากรโลกที่เป็นผู้สูงอายุจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สืบเนื่องจากกลุ่มประชากรที่เกิดในช่วง baby boom ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของโลกได้เข้าสู่ช่วงสูงอายุ ทำให้ประชากรโลกที่อายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนสูงเกือบร้อยละ 40 ของประชากรโลกทั้งหมด (แผนภูมิที่ 1) ประกอบกับวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ประชากรโลกมีอายุขัยเฉลี่ยที่สูงขึ้นและยังมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงอีกด้วย ในขณะที่ค่าครองชีพในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีอัตราที่ค่อนข้างสูง บางประเทศจึงมีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุของตนออกไปใช้ชีวิตในต่างประเทศที่มีค่าครองชีพที่เหมาะสมและยังคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี | |
| นอกจากนี้ในปัจจุบันประชากรของโลกมีช่วงอายุการทำงานที่ลดลง มีการเกษียณอายุการทำงานเร็วกว่าในอดีต ทำให้สามารถใช้เวลาในการเดินทางท่องเที่ยวได้มากขึ้น จากข้อมูลดังกล่าวนักท่องเที่ยวที่เกษียณอายุการทำงานแล้วจึงเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ ททท. ได้ให้ความสนใจ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าผู้เกษียณอายุการทำงานแล้วจะมีสวัสดิการหรือเงินบำนาญที่รัฐบาลของตนจ่ายให้เป็นรายเดือนอันเป็นรายได้ที่มั่นคง นอกจากนี้ยังมีเงินเก็บสะสมส่วนตัว ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีกำลังในการใช้จ่ายสูง และสามารถเข้ามาพำนักในระยะยาวได้ ทำให้เกิดระยะเวลาในการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นด้วย | |
| นักท่องเที่ยวกลุ่มเกษียณอายุการทำงานแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของตลาดนักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวที่สำคัญของไทย โดยเป็นกลุ่มแรกที่ ททท.จะทำการพัฒนาและส่งเสริมสำหรับโครงการนี้ จากสถิตินักท่องเที่ยวสูงอายุที่เดินทางมาประเทศไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี (ตารางที่ 2) ในส่วนของผู้ที่เกษียณอายุการทำงานและเดินทางเข้าท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้น พบว่ามีอัตราการขยายตัวที่ดีเช่นกัน โดยเฉลี่ยร้อยละ 5.33 ต่อปี (ตารางที่ 3) ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสูงอายุส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันประมาณ 44 เหรียญสหรัฐ ซึ่งแม้จะมีอัตราที่ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวทั่วไป แต่การพำนักที่นานวันกว่าก็สามารถนำรายได้เข้ามาได้เป็นจำนวนมาก | |
| นอกจากกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวที่เกษียณอายุการทำงานแล้ว กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และเยาวชน นับเป็นตลาดที่มีแนวโน้มดีมากอีกกลุ่มหนึ่ง ปัจจุบันสถานศึกษาต่างๆของไทยมีการทำการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษามากยิ่งขึ้น และค่อนข้างได้รับความสนใจเป็นอย่างดี เนื่องจากระบบการศึกษาของไทยค่อนข้างมีมาตรฐาน นอกจากนี้ ยังทำให้นักเรียนและนักศึกษาเหล่านี้ ได้รับประสบการณ์ในต่างแดน ทั้งการใช้ชีวิตและการเดินทางท่องเที่ยวพร้อมกัน
กลุ่มประเทศเป้าหมาย | |
|
จากสถิตินักท่องเที่ยวสูงอายุของโลก (55 ปี +) พบว่า นักท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกาเป็นกลุ่มตลาดใหญ่ที่สุด รองลงมาได้แก่ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส ตามลำดับ (ตารางที่ 4) จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่ให้ความสนใจในการเดินทางไปพำนักระยะยาวในต่างประเทศมักจะอยู่ในประเทศที่มีค่าครองชีพค่อนข้างสูง แต่เนื่องจากประเทศเหล่านี้จะมีเงินสวัสดิการให้แก่ผู้เกษียณอายุ ได้แก่ เงินบำนาญ เงินประกันสังคม ฯลฯ โดยจ่ายให้เป็นจำนวนค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับอัตราค่าครองชีพของประเทศอื่นๆทำให้ประชาชนในประเทศอื่นๆทำให้ประชาชนในประเทศดังกล่าวมีกำลังทรัพย์ในการไปพำนักประเทศอื่นเป็นระยะเวลานานได้ | |
สำหรับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มเยาวชนนั้น พิจารณาเห็นว่าการทำการตลาดในระยะแรกจะมุ่งเน้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศใกล้เคียงที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการศึกษาของไทยค่อนข้างดี และมีความสนใจพื้นฐานอยู่บ้าง ซึ่งขณะนี้จำนวนนักเรียน นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศใกล้เคียงที่เข้ามาศึกษาในสถานศึกษาต่างๆของประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี | |
ททท. จึงได้พิจารณาตลาดนักท่องเที่ยวหลักของประเทศไทย และได้กำหนดกลุ่มประเทศเป้าหมายสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว ดังนี้ | |
| |
|
| |
|
|
| Top |
|