วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนาย นปช.แจงฟ้องศาลโลก

นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม  ชูประเด็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีมีสัญชาติอังกฤษ ฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ 

นายโรเบิร์ต  อัมสเตอร์ดัม ทนายความของนปช. เปิดเผยผ่านวีดีโอลิงค์จากประเทศญี่ปุ่น  ว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา  สำนัำกงานทนายความของเขาได้ยื่นเอกสารฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว  โดยเขาใช้ประเด็นที่นายอภิสิทธิ์ ถือสัญชาติอังกฤษ เพราะเกิดที่ประเทศอังกฤษในปี 1967  มาใช้ในการยื่นฟ้อง  
เนื่องจากอังกฤษ เป็นประเทศที่ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ของศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว  ซึ่งตามกฎหมายสามารถดำเนินคดีกับผู้ที่มีสัญชาติของประเทศที่ให้สัตยาบัน ได้ทันที

ส่วนเนื้อหาในคำร้องนั้นมี 250หน้า  และนายโร เบิร์ต เปรียบเทียบการสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช.คล้ายกับเหตุการณ์รุนแรงที่ประเทศอียิปต์ในปัจจุบัน จากการฆาตกรรม การจับกุมผู้คน และความพยายามในการแทรกแซงพยานหลักฐาน เพื่อใส่ความทางอาญาผู้ชุมนุม  

คำแถลงของ นายโรเบิร์ต ยังอ้างคำให้การของพยาน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ นายโจ เรย์ วิตตี้ อดีตจ่ากองทัพบก ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องการควบคุมฝูงชน สังกัดหน่วยปฏิบัติการพิเศษ หรือ สวาท ของสำนักงานตำรวจแห่งนครลอสแอลเจิลลีส ซึ่งระบุว่า การปฏิบัติการของกองทัพบกไทย เมื่อวันที่ 19พฤษภาคม 2553เป็นการปฏิบัติการทางทหาร ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสังหารพลเรือนผู้บริสุทธิ์เพื่อจะได้ปราบปรามผู้ ชุมนุมกลุ่ม นปช.

ส่วนกรณีระเบิดสังหารทหารกลุ่มหนึ่ง เมื่อวันที่ 10เมษายน ปีเดียวกัน นั้น อาจเป็นเรื่องที่ฝ่ายทหารก่อขึ้นเอง เพื่อเป็นข้ออ้างในการยิงปืนเข้าใส่กลุ่มประชาชนโดยฝ่าฝืนกฎการใช้กำลังของ กองทัพ นายโรเบิร์ต ยังกล่าวด้วยว่า การยื่นคำร้องครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ที่มีความพยายามรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอย่างครบถ้วนและเป็นระบบมาก ที่สุด เพื่อชี้ให้เห็นว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยความจงใจก่อให้เกิดความรุนแรงจนเกินกว่าที่จะรับ ได้ จึงต้องการคำตอบและต้องมีผู้รับผิดชอบ‎​ก่อนหน้านี้

ขณะที่นายจตุพร กล่าวถึงข่าวการรัฐประหารในประเทศ โดยอ้างว่า ข้อมูลว่า มีอดีตนายทหาร ยศ นาวาอากาศเอก ไปร่วมวันทหารม้า ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงสงสัยว่าเป็นการซ่องสุมเพื่อการก่อการปฏิวัติหรือไม่

นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนาย นปช.แจงฟ้องศาลโลก
Produced by VoiceTV

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

China City Complex

lสถานที่ตั้ง ถนนบางนา-ตราด กม.8-9
หน้าตา Chaina City Complex
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4278  ประชาชาติธุรกิจ


ทุนจีนซื้อที่ตระกูลเก่า700ล้าน ผุดศูนย์ส่งออกไชน่าซิตี้บางนา



ตระกูล เก่าแก่ขายที่มรดก 70 ไร่ 700 ล้านบาท ข้างศูนย์วัสดุบุญถาวร บางนา-ตราด กม. 9 สร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้า ภายใต้โครงการ China City Complex ต้นตำรับอี้อู โมเดล ของกลุ่มทุนจีน Yunan-based Ashima Group


นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการก่อสร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้า ภายใต้โครงการ Thai-China International City หรือ China City Complex ว่า โครงการนี้จะเป็นการร่วมทุนระหว่างนักธุรกิจไทยกับกลุ่มทุนจีนรายใหญ่ นำโดยบริษัท Yunan-based Ashima Cultural Industry Group Investment.Co.Ltd ซึ่งเปิดตัว

นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการก่อสร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้า ภายใต้โครงการ Thai-China International City หรือ China City Complex ว่า โครงการนี้จะเป็นการร่วมทุนระหว่างนักธุรกิจไทยกับกลุ่มทุนจีนรายใหญ่ นำโดยบริษัท Yunan-based Ashima Cultural Industry Group Investment.Co.Ltd ซึ่งเปิดตัวโครงการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่ตำบลอี้อู เมืองจินหัว มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน

โครงการดังกล่าวจะ เป็นการพัฒนา ที่ดินบนถนนบางนา-ตราด ก.ม.ที่ 8-9 ในพื้นที่ประมาณ 64 ไร่ มูลค่าการลงทุนประมาณ 6,200 ล้านหยวน เพื่อจัดทำเป็นศูนย์ค้าส่งออกสินค้าแห่งที่ 2 ภายใต้

"อี้อู โมเดล" (Yi Wu Model) ซึ่งมีเทคโนโลยีโนว์ฮาวทางการค้าส่งเชื่อมโยงกับทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จเป็นแห่งแรกในประเทศจีน

ทั้ง นี้แผนพัฒนาการลงทุน China City Complex จะแบ่งโครงการออกเป็น 2 เฟส โดยเฟสที่ 1 ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,500 ล้านหยวน นำร่องก่อสร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้าพื้นที่ขนาด 500,000-700,000 ตารางเมตร เริ่มก่อสร้างเดือนมีนาคม 2554 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2555 โดยจะเปิดให้ร้านค้าเข้ามาเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์รวมกว่า 10,000 ร้านค้า แบ่งสัดส่วนร้านสินค้าไทย 30% และจีน 70% มีการคัดเลือกสินค้าหลักพร้อมส่งออกเข้ามาวางขาย 7 หมวด ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม, เครื่องไฟฟ้า, อัญมณีและเครื่องประดับ, อะไหล่รถยนต์, ของตกแต่งบ้าน, ของเล่นและสินค้าไลฟ์สไตล์, อาหารและสินค้าแปรรูป

ส่วนเฟสที่ 2 จะเริ่มขยายก็ต่อเมื่อผลการดำเนินงานเฟสแรกประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย จากนั้นกลุ่มทุนใหญ่ในจีน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทธุรกิจภาคเอกชนจีน ภายใต้สมาคม ASEAN-CHINA Economic and Trade Promotion Association เตรียมจะย้ายฐานโรงงานผลิตค้าหมวดต่าง ๆ เข้ามาอยู่ใน China City Complex ในประเทศไทยต่อไป

ส่วนสิ่งที่เป็นข้อสงสัยในขณะนี้ก็คือ กลุ่มนักลงทุนไทยที่จะเข้าร่วมโครงการ China City Complex บางนา-ตราด เป็นใคร

ใน ประเด็นนี้ ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สอบถามไปยังผู้ประกอบการ อสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่เป็น Land Load ในช่วงบางนา-ตราด หลายรายให้ข้อมูลตรงกันว่า เบื้องหลังโครงการ China City Complex เกิดมาจากไอเดียของกลุ่มพ่อค้าคนจีน นำโดย มิสเตอร์ตงฟู่ นายกสมาคมพ่อค้าเมืองอู้หยี-จิงเจีย ที่ต้องการจะมาปักธงสร้างธุรกิจในประเทศไทย เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยกลุ่มผู้ลงทุนกลุ่มนี้เป็นนักธุรกิจคนจีนล้วน ๆ ยังไม่มีรายชื่อคนไทยเข้าร่วมทุนแต่อย่างใด

"จากการสอบถามผู้ที่ เกี่ยวข้อง เขาไม่กังวลเรื่องกลุ่มคนไทยที่จะเข้ามาร่วมทุนสักเท่าไหร่ เพราะกลุ่มทุนจีนยุคนี้มีความพร้อมทั้งเรื่องเงินและคอนเน็กชั่นอยู่แล้ว" แหล่งข่าวกล่าว

โดยก่อนหน้านี้ ผู้แทนกลุ่มทุนนำโดย มิสเตอร์ตงฟู่ ได้เข้าหารือและแลกเปลี่ยน

ไอ เดียของโครงการนี้กับ นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผลการหารือปรากฏเป็นที่พอใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายจีนได้รับการเปิดทางให้เข้ามาลงทุนในไทย ขณะที่นายอลงกรณ์เองมีเป้าหมายที่จะแสดงบทบาทเป็น "ผู้นำ" โครงการนี้ในนามรัฐบาลไทยเช่นกัน

ล่าสุดมีรายงานข่าวเข้ามาว่า กลุ่มทุนจีนได้ทำความตกลงในการจัดหาซื้อที่ดินเกือบ 70 ไร่ มูลค่า 700 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้าในโครงการนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่ดินแปลงนี้เป็นมรดกจากตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่ง ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 9 ข้าง ๆ ศูนย์วัสดุบุญถาวร "เป็นไปได้ว่าการซื้อขายที่ดินจะออกมาในลักษณะสัญญาการเช่าซื้อ ระยะเวลาอยู่ที่ความเหมาะสม เท่าที่ทราบรัฐบาลกำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่" แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับความเคลื่อนไหวในจีนต่อโครงการ China City Complex ทาง นสพ.ไชน่า เดลี่ รายงานว่า นายดง ฮองจี ประธานบริษัท Yunan-based Ashima Cultural Industry Group Investment.Co.Ltd ผู้ร่วมทุนรายใหญ่ กล่าวว่า ในฐานะผู้บุกเบิกอี้อู โมเดล ในเมืองเจ้อเจียง จนกลายเป็นศูนย์ค้าส่งออกสินค้ารายใหญ่ของโลกสำเร็จแล้ว ก็พร้อมที่จะพัฒนาศูนย์แห่งที่ 2 ในกรุงเทพฯ เพื่อเปิดประตูการค้าเป็นวงแหวนเศรษฐกิจระหว่างจีน-ไทย-อาเซียน ด้วยการนำร่องลงทุนเปิดพื้นที่เชิงพาณิชย์เฟสแรก

ส่วนนายหยาง ฟางซู ประธานสมาคม ASEAN-CHINA Economic and Trade Promotion Association กล่าวว่า นักลงทุนจีนยินดีร่วมมือกับไทย ซึ่งเป็นประเทศที่แทบจะมีกำแพงภาษีต่ำ เปิดประตูรับการค้าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศได้ดีกว่าหลายประเทศ โดยโครงการ China City Complex จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งไทย อาเซียน และจีน โดยหลังจากที่รัฐบาลจีนทำข้อตกลงเปิดเสรี (FTA) กับกลุ่มอาเซียนเพียงปีเดียว ปรากฏช่วง 7 เดือนแรกของปี 2553 มีมูลค่าการค้าหมุนเวียนในภูมิภาคนี้สูงถึง 161,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในอนาคตเมื่ออาเซียนรวมกันเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะทำให้ได้มูลค่าการค้าระหว่างกันสูงถึงปีละ 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐ


ที่มา
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02p0103100154&sectionid=0201&day=2011-01-10

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชเนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗๒ พรรษา

พระตำหนักหอ

เดิมพระตำหนักหอนั้นปลูกสร้างอยู่ที่วังศุโขทัย  ในปี  ๒๕๔๑  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ทำการรื้อมาสร้างใหม่  ณ  พระราชวังดุสิต
                ภายในพระตำหนักจัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  พระบรมราชินีในรัชกาลที่  ๗  อาทิเช่น  พระบรมฉายาลักษณ์  สิ่งของที่มีผู้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย  ฯลฯ  ส่วนเครื่องปั้นดินเผาโบราณ  เช่น  ไห  ถ้วยชามสังคโลก  หรือวัตถุโบราณที่นำขึ้นมาจากทะเลฝั่งตะวันออกของไทยนั้น  นายอนุสรณ์  ทรัพย์มนูได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชเนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ  ๗๒  พรรษา

ที่ตั้ง : 16 ถ. ราชวิถี แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ10300
โทรศัพท์ : (662)628-6300-9
โทรสาร : 281-6880

เว็บ : www.palaces.thai.net
รถประจำทาง : 12 18 28 70 108
รถปรับอากาศ : 510 515 ปอ.พ.4

เวลาทำการ :
ทุกวัน 9.30-16.00 น.
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม : ขายบัตร 9.30-16.00 น.
นักเรียน นักศึกษา นักบวช 20 บาท
ผู้ใหญ่ 50 บาท

กิจกรรม เทศการ : รำไทย 10.00 น.-15.00 น.
มัคคุเทศก์ : อังกฤษ
ข้อห้าม : ถ่ายภาพในอาคาร

ที่จอดรถ : บริเวณภายในพระที่นั่งวิมานเมฆ

สถานที่ใกล้เคียง : พระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐาน พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งอัมพรสถาน พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 รัฐสภา วังปารุสกวัน สวนสัตว์ดุสิต สวนอัมพร หมุดคณะราษฎร
พิพิธภัณฑ์ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ห้างสรรพสินค้า ถ่ายรูปได้ ประชาสัมพันธ์์

เชิญชม พระราชวังไทย แบบเสมือนจริง ๓๖๐ องศา/ Thai Royal Palace Virtual tour

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

อีก 6 ปี น้ำท่วมกรุงเทพ จริงหรือ

 

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ว่า อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ให้ศึกษาแบบจำลองผลกระทบภาวะน้ำท่วม และน้ำทะเลขึ้นสูงในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชั้นในและปริมณฑล หลังจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารโลก มูลนิธิเวิลด์วิชั่น และคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ได้ร่วมกันศึกษา รวบรวมข้อมูลและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ พบว่า กทม.เป็น 1 ใน 9 เมืองในทวีปเอเชียมีความเสี่ยงสูงที่น้ำทะเลจะเอ่อทะลักเข้าท่วมในเมือง โดยทั้ง 9 เมืองที่มีความเสี่ยงประกอบด้วยเซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง ประเทศจีน, ธากา ประเทศบังกลาเทศ, กัลกัตตา มุมไบ ประเทศอินเดีย, ย่างกุ้ง ประเทศพม่า, ไฮฟอง โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และ กทม.
นายเสรีกล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำท่วม กทม.ชั้นในมี 4 ปัจจัย คือ 1.ปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปัจจุบัน 2.แผ่นดินใน กทม.ทรุดตัวปีละ 4 มิลลิเมตร 3.ระดับน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทยสูงขึ้น 1.3 เซนติเมตรต่อปี และ 4.เกิดจากภาพรวมของระบบผังเมืองใน กทม.ที่พบว่าปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่สีเขียว ลดลงไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ "ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีประชากรใน กทม.ประมาณ 680,000 คน ได้รับผลกระทบ น้ำจะเอ่อเข้ามาท่วมอาคารที่ 1.16 ล้านหลัง ในจำนวนนี้จะเป็นบ้านพักอาศัย 9 แสนหลังคาเรือน โดย 1 ใน 3 จะอยู่ในพื้นที่บางขุนเทียน บางบอน บางแค และพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ นอกจากนี้ยังพบว่าอาคารและที่พักอาศัยเขตดอนเมืองราว 89,000 อาคารจะได้รับผลกระทบ รวมความเสียหายทั้งหมดประมาณ 1.5 แสนล้านบาท" ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมฯกล่าว ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อมูลงานวิจัยทางศูนย์สิรินธรฯได้ดำเนินการเพื่อหาทางป้องกันปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างไร นายเสรีกล่าวว่า หลังจากธนาคารโลกได้รับผลวิจัย ก็ได้ส่งเรื่องให้ผู้บริหาร กทม.สมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ทั้งที่ผลวิจัยได้เสนอวิธีป้องกันและแก้ปัญหาเอาไว้ 3 ทาง คือ 1.เร่งหาพื้นที่แก้มลิงเหนือ กทม. ตั้งแต่สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา เพื่อเป็นที่ระบายน้ำ 2.เร่งขุดขยายคลองระบายน้ำที่มีอยู่เวลานี้โดยเร็ว และ 3.ต้องสร้างคันกั้นน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อป้องกันน้ำเอ่อทะลักเข้ามาในพื้นที่ กทม.โดยสร้างเป็นคันดินในพื้นที่ริมฝั่งทั้งหมด ระยะทาง 80 กิโลเมตร ซึ่งประเทศเวียดนามได้ดำเนินการไปแล้ว
ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ออกโรงเตือนวิกฤตโลกร้อน กทม.จะได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลค่อยๆขึ้นสูง แนะถ้าไม่สร้างเขื่อนกั้นอ่าวไทย ต้องย้ายเมืองหลวงใน 6 ปี เหตุน้ำท่วมกรุงเทพฯ นอกจากบทบาทนักการศึกษาผู้ใจบุญ
ทุกวันนี้ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ในวัย 69 ปี ยังเดินสายให้ความรู้เรื่องสภาวะโลกร้อนตามโรงเรียนและสถานศึกษาทั่วประเทศอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ดร.อาจองอธิบายว่า ขณะนี้สภาพภูมิอากาศกำลังแปรปรวนจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งอาจทำให้คนไทยได้เห็นหิมะตกแบบเดียวกับในประเทศเวียดนาม รวมถึงรอยร้าวของเปลือกโลกที่อาจทำให้แผ่นดินไหวใต้เขื่อนใหญ่ จะทำให้เกิดน้ำท่วมไหลเข้าถึงกรุงเทพฯภายใน 35 ชั่วโมง  ขณะนี้สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกคือ ดิน ฟ้า อากาศที่เปลี่ยนแปลง เราจะเห็นว่าประเทศไทยเราปีนี้อากาศเย็นลง ซึ่งก็เกิดขึ้นเพราะขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ร้อนขึ้นมาก และดูดเอาความร้อน น้ำแข็งละลาย ดังนั้นโดยเฉลี่ยอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นจริงๆ แต่ประเทศไทยโดยเฉลี่ยอุณหภูมิลดลง เพราะว่าไปร้อนที่อื่น แต่อย่างไรก็ตามโดยเฉลี่ยอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่ากลัว ประเทศไทยของเราเองก็หนีไม่พ้น ในที่สุดก็จะร้อนขึ้น”
ดร.อาจอง กล่าวว่า เรื่องโลกร้อนที่จะส่งผลกระทบกับประเทศไทยโดยตรง มี 2 อย่างใหญ่ คือผล กระทบจากระดับน้ำทะเลที่จะค่อยๆ สูงขึ้น และการที่เปลือกโลกเริ่มเคลื่อนไหวจนเกิดรอยร้าว ซึ่งจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมากขึ้น นี่คือ 2 อย่างที่เราต้องเตรียมตัวให้ดี ”เรื่องของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ถ้าเราไม่สร้างเขื่อนกั้นตรงอ่าวไทย ก็ต้องคิดย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯไปที่อื่นภายใน 6 ปี เพราะอีก 15 ปีข้างหน้า น้ำจะเริ่มท่วมกรุงเทพฯ ฉะนั้นเราก็จะอยู่ไม่ได้ แต่การย้ายเราต้องวางแผนล่วงหน้าสัก 10 ปี ต้องวางแผนให้ดี เราจะสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาอย่างไร ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อม และทำให้ดี”  
ส่วนเรื่องเปลือกโลกเคลื่อนตัวจะทำให้มีรอยเลื่อนเกิดขึ้นหลายจุด ตั้งแต่ภาคเหนือ ตั้งแต่ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลงมาถึงลำปาง อุตรดิตถ์ ส่วนทางด้านภาคตะวันตก ก็จะมี จ.ตราด และกาญจนบุรี ลงไปทางใต้ ก็ตั้งแต่ จ.ประจวบฯ ลงไปเรื่อยจนถึง จ.ภูเก็ต กระบี่ ก็จะเริ่มเกิดรอยร้าว กรมทรัพยากรธรณีได้ทำแผนที่ว่ารอยร้าวอยู่ตรงไหน ตรงไหนจะเกิดมากเกิดน้อย แต่รอยร้าวจะไม่สามารถทำอะไรเราได้มากมาย ถ้าหากเรารู้ว่าแผ่นดินไหวอาจจะเกิดขึ้น และมีการเตรียมตัวที่ดี เช่น ภาคเหนือ เราสามารถอยู่ได้ แต่ต้องสร้างบ้านให้แข็งแรงเท่านั้นเอง
“ส่วนภาคกลางที่น้ำจะท่วม ผมคิดว่าน่าจะปกป้องเอาไว้แทนที่จะปล่อยให้ท่วม เพราะนี่คืออู่ข้าวของเราที่เราปลูกข้าวมากที่สุดในโลก ฉะนั้นยังไงก็ต้องสร้างเขื่อนกั้น ดร.สมิทธ ธรรมสโรช บอกว่า ต้องสร้างเขื่อนกลางทะเล ผมคิดว่าอาจจะลำบากและค่าใช้จ่ายสูง แต่ผมคิดว่าเราน่าจะสร้างรอบทะเลดีกว่า อาจจะโค้งหน่อยตามสภาพภูมิประเทศ แต่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ และสามารถป้องกันไม่ให้ภาคกลางไม่ให้น้ำท่วม ไม่ให้น้ำทะเลหนุนเข้ามาได้”
  “และประการสำคัญ หากเราไม่ป้องกันคือ สถานที่สำคัญในบ้านเมืองเราอาจจะหายไป เช่น วัดพระแก้ว หรือ จ.พระนครศรีอยุธยาซึ่งมีวัดจำนวนมาก ดังนั้นการสร้างเขื่อนจะสามารถป้องกันไม่ให้เราสูญเสียสิ่งสำคัญเหล่านี้ได้ แต่เราก็ต้องลงทุน ไม่ใช่รอจนกระทั่งสายเกินไป ซึ่งถ้าจะสร้างเขื่อนก็ต้องสร้างให้เสร็จภายใน 6 ปีนับจากนี้ ถ้าปล่อยให้น้ำเค็มเข้ามาถึงคลองประปาก็จะไม่มีน้ำจืดเหลือแล้ว”

 “อดีตนักวิทยาศาสตร์องค์การนาซ่าเตือนว่า สิ่งที่ดีที่สุดขณะนี้ก็คือต้องสร้างเขื่อนกั้นไว้ก่อน รัฐบาลต้องคิดและวางแผนตั้งแต่วันนี้ ต้องทำเป็นวาระแห่งชาติ และจะกลายเป็นสิ่งที่ดีถ้าเราพูดถึงภัยอันตรายส่วนรวมแล้ว มนุษย์ก็จะได้เลิกทะเลาะกันเสียที เพราะเรามีภัยธรรมชาติที่เป็นศัตรูร่วมกัน ถ้าไม่ป้องกันอย่างใดอย่างหนึ่ง กรุงเทพฯและภาคกลางหลายจังหวัดจมน้ำแน่นอน

โอกาสทอง ลองสเตย์ ไทย-ญี่ปุ่น




สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้มีโอกาสสนทนากับคุณ Yukio Katono ตำแหน่งSecretary-General ของสมาคม Thailand-Japan Longstay Promotion Association เมื่อต้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมาและได้รับการบอกเล่าถึงเรื่องราวและแรงบันดาลใจที่ทำให้มีการจัด ตั้งสมาคมดังกล่าวขึ้น โดยคุณ Katono กล่าวว่า โดยส่วนตัว มีความผูกพันกับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่สมัยยังเป็นนักเรียนมัธยมต้น โดยเริ่มจากการที่บิดาของคุณ Katono มีเพื่อนชาวไทยและได้มาเที่ยวที่บ้านหลายครั้ง จนทำให้มีความรู้สึกคุ้นเคยกับชาวไทย หลังจากนั้นคุณ Katono ได้เข้าทำงานในบริษัท Mitsubishi Electric Corporation และมีโอกาสได้มาดูงานที่ประเทศไทย รวมถึงเคยไปประจำการอยู่ที่ประเทศไทยเป็นเวลากว่า 6 ปี ซึ่งยิ่งทำให้รู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น

และหลังจากเกษียณเมื่อปี 2000 คุณ Katono ได้ตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณโดยยังผูกพันกับประเทศไทยอยู่ และได้มีโอกาสจัดตั้งและทำงานให้กับสมาคม Thailand-Japan Longstay Promotion Association ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 เดือนมกราคม ปี 2005 โดยขณะนี้ มีสมาชิกจำนวน 30 คน

คุณ Katono เห็นว่า ปัจจุบันสังคมในประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ มากขึ้น การอาศัยอยู่ในต่างประเทศแบบพำนักระยะยาว(Long Stay) หลังจากเกษียณจากการทำงาน จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพำนักระยะยาวในประเทศไทย เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพถูก มีสิ่งอำนวยความสะดวกหลายด้านรองรับ และเป็นสังคมที่ให้ความเคารพต่อผู้สูงอายุ จึงทำให้ประเทศไทยได้รับความนิยมสูง และคาดว่าต่อจากนี้ไปก็คงจะมีความนิยมมากขึ้นไปเรื่อยๆ

สำหรับกิจกรรมหลักของทางสมาคมฯ นั้น คือ การให้ข้อมูล และประสานงานเกี่ยวกับการพำนักระยะยาวในประเทศไทย การให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำปรึกษาในเรื่องของกิจกรรมต่างๆ และในด้านสุขภาพ ความปลอดภัย เพื่อสนับสนุนให้การพำนักอาศัยนอกประเทศสำหรับผู้สูงอายุของญี่ปุ่นในระยะ ยาวเป็นไปด้วยดี

คุณ Katono กล่าวทิ้งท้ายว่า ในประเทศไทย สังคมของผู้สูงอายุที่พำนักแบบ Long Stayเป็นสังคมที่มีความราบรื่น และมีความเคารพซึ่งกันและกัน คุณ Katono มีความหวังว่า อยากจะขยายงานและส่งเสริมให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Long Stay ในประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลดังกล่าว สามารถติดต่อทางสมาคมได้ที่ 047-355-9000



สัมภาษณ์โดย นางทามิ ฮาชีโมโตะ
ฝ่ายสารนิเทศ วัฒนธรรม
สอท.ณ กรุงโตเกียว

ที่มา เวบไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว Thailand-Japan Longstay Promotion Association

http://www.thaiembassy.jp/TJcommunity-t/profile/longstay.htm

http://www.thailongstay.co.th/service.html

รูปแบบที่พักแบบพำนักระยะยาวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

รูปแบบที่พักแบบพำนักระยะยาวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

ชื่อบทความ/งานวิจัย รูปแบบที่พักแบบพำนักระยะยาวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

ผู้วิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ปีที่ทำวิจัย 2550

แหล่งทุน สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว



บทคัดย่อ/บทสรุปผู้บริหาร



การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มการขยายตัวในปริมาณสูง หลาย ประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และสเปนให้ความสนใจและจัดทำเป็นนโยบายระดับประเทศเพื่อให้เป็นกิจกรรมที่ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทำให้นักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้พึงพอใจและเลือกเป็นแหล่งพำนักระยะยาวที่จะ กลับมาเป็นประจำทุกปี สำนักพัฒนาการท่องเที่ยวตระหนักถึงศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำของโลกสำหรับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวโดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ 198 วัน

โครงการนี้ได้กำหนดกิจกรรมหลักไว้ 4 ประเภท คือ การวิจัยเอกสารเพื่อศึกษาสภาพการจัดการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในต่าง ประเทศและในประเทศไทย เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานกิจกรรมที่ 2 คือ การจัดทำมาตรฐานที่พักแบบพำนักระยะยาวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย รวมทั้งทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว กิจกรรมที่ 3 ที่ ดำเนินการคู่ขนานกันไปคือการสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานประกอบการที่พักแบบ พำนักระยะยาว และได้สร้างฐานข้อมูลพร้อมโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต และกิจกรรมสุดท้ายคือการจัดการประชุมผู้ประกอบการที่พักเพื่อให้มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานที่พักแบบพำนักระยะยาวที่ได้จัดทำขึ้น

การ วิจัยเอกสาร เพื่อศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในประเทศ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย สเปน สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย ได้เรียนรู้ประเด็นที่สำคัญคือ ประเทศสเปนจะได้เปรียบประเทศไทยด้านระยะทางที่อยู่ใกล้ประเทศต้นทางของนัก ท่องเที่ยว และความสะดวกในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ส่วนประเทศฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียจะได้เปรียบในเรื่องภาษา แต่มีข้อด้อยในเรื่องค่าครองชีพและภูมิอากาศ สำหรับประเทศ มาเลเซียมีจุดเด่นที่แตกต่างจากประเทศไทย คือ การให้บริการอย่างเพียบพร้อมแก่นักท่องเที่ยวตั้งแต่เริ่มต้นความคิดที่จะ หาสถานที่สำหรับการพำนักระยะยาว กระบวนการตรวจลงตรา และความสะดวกทุกเรื่องด้วยการบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว แต่ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยสามารถจะพัฒนาให้เป็นประเทศชั้นนำสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้ เนื่องจากมีอากาศดี ภูมิประเทศสวยงามและหลากหลาย รวมทั้งการที่คนไทยส่วนใหญ่มีความเป็นมิตรและพร้อมที่จะให้บริการนักท่อง เที่ยว

การ สัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่พักแบบพำนักระยะยาวและนักท่องเที่ยวทำให้เห็นแนว โน้มความต้องการของนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวว่าจะมีความแตกต่างจากนัก ท่องเที่ยวในกลุ่มอื่นในเรื่องที่พักที่ต้องการเครื่องอำนวยความสะดวกที่ เหมือนกับการดำเนินชีวิตประจำวันของนักท่องเที่ยวเอง ต้องการ กิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้การพักผ่อนระยะยาวน่าสนใจ ความปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสุขภาพ เมื่อนำความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มาพิจารณาร่วมกับสารสนเทศด้าน มาตรฐานคุณภาพ มาตรฐานที่พักประเภทต่างๆ รวมทั้งมาตรฐานที่พักแบบพำนักระยะยาว ทำให้ได้เกณฑ์มาตรฐานที่พักแบบพำนักระยาวที่เหมาะสมกับประเทศไทยให้ฉบับร่าง หลังจากนั้นจึงได้นำร่างมาตรฐานนี้ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอุตสาหกรรมท่อง เที่ยวพิจารณา และจัดประชุมกลุ่มเฉพาะเพื่อเสนอข้อคิดเห็นและนำมาปรับปรุงร่างมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานที่พักมี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับแพลตตินัม ระดับทองและระดับเงิน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 29 เกณฑ์ และ 100 ตัวชี้วัด เกณฑ์ที่กำหนดไว้ ได้แก่

องค์ประกอบที่ 1 สถานที่ตั้ง สภาพแวดล้อม สิ่งก่อสร้างทั่วไป ทางสัญจรและสถานที่จอดรถ องค์ประกอบที่ 2 โถงต้อนรับ ลิฟต์ องค์ประกอบที่ 3 ห้องพัก องค์ประกอบที่ 4 ห้องอาหาร บริเวณประกอบอาหารและรับประทานอาหาร องค์ประกอบที่ 5 บริการเสริมอื่นๆองค์ประกอบที่ 6 บุคลากร องค์ประกอบที่ 7 ระบบความปลอดภัย องค์ประกอบที่ 8 การจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและความสัมพันธ์ชุมชน องค์ประกอบที่ ๙ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ ราคาและการระบุบริการต่าง ๆ

สำหรับการจัดทำฐานข้อมูลสถานประกอบการที่พักแบบพำนักระยะยาวเริ่มด้วยการสำรวจจากเว็บไซต์ที่ค้นหาด้วยคำหลัก “ที่พัก/longstay/พำนักระยะยาว” พบสถานประกอบที่แสดงสถานะและ/หรือมีการบ่งลักษณะที่พักแบบพำนักระยะยาว จำนวน 283 แห่ง ขั้นตอนต่อไปคือการจัดส่งแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นจากงานวิจัยเอกสารเนื้อให้ ครอบคลุมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลที่เอื้อต่อการพำนักระยะยาว ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ฯลฯ ได้รับแบบสอบถามคืน 83 แห่ง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จัดทำฐานข้อมูล ทดลองใช้และจัดทำคู่มือใช้ฐานข้อมูล ซึ่งลักษณะเด่นของฐานข้อมูลคือ สามารถเพิ่มข้อมูลได้ไม่จำกัด สามารถสั่งพิมพ์รายงานมากกว่า 10 รายงาน สามารถเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานได้ ฐาน ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปเชื่อมโยงกับเว็บไซต์เพื่อการสืบค้นหา ที่พักและผู้ประกอบการสามารถเข้าไปเพิ่มเติมข้อมูลได้ด้วยตนเองในกรณีมีการ จัดเตรียมอุปกรณ์หรือเปลี่ยนแปลงรายการบริการ ในส่วนทางภาครัฐสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความพร้อมของที่พักแบบพำนักระยะยาวได้

ในกิจกรรมสุดท้ายของโครงการ คือการฝึกอบรม ได้จัดกิจกรรมย่อยใน 2 รูป แบบ คือการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวแบบ พำนักระยะยาวเพื่อให้นำความรู้ที่ได้รับไปปรับปรุงเพื่อเตรียมการยกระดับ มาตรฐานที่พักของตนให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ และได้จัดให้มีการเยี่ยมสถานประกอบการที่พักที่ได้เริ่มจัดบริการแบบพำนัก ระยะยาวทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดเพื่อแนะนำมาตรฐานและเพื่อศึกษาแนวทาง ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวให้ประสบความสำเร็จ

จาก การดำเนินงานในโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวทำให้ มองเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในด้านการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว โดยมีประเด็นสำคัญที่จะต้องดำเนินการ ประการแรก คือ การร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากหน่วยงานต่างสังกัดในภาครัฐที่จะต้องพิจารณาหาทาง ให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกมากที่สุดโดยไม่กระทบกับปัญหาความมั่นคงและ ความปลอดภัยของประเทศ ประการที่สอง จะต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์จากทั้งภาครัฐและเอกชนในด้านบริการการท่อง เที่ยวแบบพำนักระยะยาวที่มีคุณภาพได้มาตรฐานของประเทศไทยอย่างทั่วถึงและ หลากหลายรูปแบบ และประการสุดท้าย คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบพำนัก ระยะยาว ซึ่งจะเป็นผลทำให้ชุมชนมีส่วนในการเผยแพร่สิ่งที่ดีและสงวนรักษาสิ่งที่เป็น ทรัพยากรโดยวิธีการที่ถูกต้อง

http://www.whyretireinthailand.com/index.html
http://www.thailongstay.co.th

ดาวห์โหลด : เอกสาร

ที่มา: สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศักยภาพของไทยต่อการดำเนินการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว



ศักยภาพของไทยต่อการดำเนินการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว

ชื่อบทความ/งานวิจัย ศักยภาพของไทยต่อการดำเนินการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว

ผู้วิจัย สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปีที่ทำการวิจัย 2549

แหล่งทุน คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาของวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา



บทคัดย่อ/บทสรุปผู้บริหาร

การจัดทำโครงการวิจัยเรื่อง “ศักยภาพของไทยต่อการดำเนินนโยบายการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว” มี จุดมุ่งหมายหลักเพื่อที่จะศึกษาสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวแบบ พำนักระยะยาวของประเทศไทย ศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ ประเภทและกิจกรรมท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวตลอดจนผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งสรุปประเด็นปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การสร้างความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพดำเนินการตามนโยบายการท่อง เที่ยวแบบพำนักระยะยาว (Long Stays) ของ ประเทศไทยอย่างยั่งยืนร่วมกันต่อไป โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับทุกกลุ่มที่เกี่ยว ข้อง คือนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจ ภาคเอกชน ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ และผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในชุมชน ในจังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรีและหนองคาย จำนวน 165 คน ดังสรุปเป็นผลการวิจัย ดังต่อไปนี้คือ

1) สถานการณ์รณเกี่ยวกับกลุ่มนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว :ผลที่ได้จากการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสถานการณ์การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวของ 3 พื้นที่ (จังหวัดชลบุรี หนองคาย และเชียงใหม่) เห็น พ้องต้องกันว่า ปริมาณของนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวจะเพิ่มจำนวนขึ้นจำนวนมากแน่นอนใน อนาคตอันใกล้นี้ โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา และภูมิภาคยุโรป ส่วนนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคแถบเอเชียก็มีเพิ่มขึ้นกว่าเดิมแต่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับกลุ่มแรก โดยส่วนใหญ่นิยมเดินทางมาคนเดียว ตามด้วยมากับกลุ่มเพื่อน และครอบครัวตามลำดับ โดยมีระยะเวลาพำนักอยู่ในประเทศไทยเฉลี่ยประมาณ 93 วัน โดยที่หลายคนเข้ามาท่องเที่ยวตลอดทั้งปี บางคนมาปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 3เดือน บางคนมาปีละครั้ง บางคนมาอยู่ถึง 6 เดือนแต่โดยภาพรวมแล้วจะอยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ยกเว้นพวกที่มีวัตถุประสงค์อื่นๆ ก็จะอยู่ยาวนานยิ่งขึ้นเช่นมาทำธุรกิจ หรืองานวิชาการในรูปแบบต่างๆ และบางส่วนใช้ประเทศไทยเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อเดินทางต่อไปท่องเที่ยวแบบพำนัก ระยะยาวพื้นที่ใกล้เคียงทั้งต่างจังหวัดและต่างประเทศ เช่นจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงราย รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่าและประเทศมาเลเซีย ตามลำดับ

2) ด้านประเภทการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว:กรอบที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งประเภทการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวออกเป็น 4 ประเภทหลักคือ 1) แนวธรรมชาติ 2) แนวศิลปวัฒนธรรมและประเพณี 3) แนวนันทนาการ และ 4) แบบ มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งในขณะนี้ผลที่ได้พบว่ามีความสอดคล้องตามกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้คือ นักท่องเที่ยวประเภทนี้จะนิยมการท่องเที่ยวที่เป็นแนวธรรมชาติเป็นหลัก และรองลงมาตามลำดับตามกรอบแนวคิดที่วางไว้ แต่ทั้งนี้มีข้อสังเกตร่วมกันว่า การท่องเที่ยวประเภทมีวัตถุประสงค์เฉพาะเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น และมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น การท่องเที่ยวแนวสุขภาพ การท่องเที่ยวแนววิชาการ วิจัย รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาตามหน่วยงานต่างๆ ฯลฯ

3) ด้านผลกระทบต่างๆอันเนื่องมาจากการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว:พบ ว่าการท่องเที่ยวประเภทนี้สามารถส่งผลกระทบที่สำคัญด้านเศรษฐกิจต่อผู้ที่ เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มชุมชนที่แทบจะไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งต่างกับการท่องเที่ยวแบบกระแสหลักที่ ผลทางด้านเศรษฐกิจมักจะตกอยู่กับกลุ่มนายทุนเฉพาะกลุ่ม ส่วนผลกระทบในด้านอื่นๆเช่นด้านสิ่งแวดล้อมด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านสังคม และด้านความมั่นคงปลอดภัย พบว่าไม่ส่งผลมากนัก แต่ก็ได้รับการเสนอว่า ควรที่จะต้องมีการวางแผนเพื่อการจัดระบบการทำงานร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นดัง กล่าวมากขึ้น

4) ด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว:พบ ว่าต้องมีการประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบและต่อเนื่อง เช่น การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน การรณรงค์ ฯลฯ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ให้บริการ และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการความชัดเจน รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวประเภทนี้ เพื่อที่จะสามารถทำการบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพร่วมกัน

5) ข้อเสนอแนะ การพัฒนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว ควรจะต้องประกอบด้วยประเด็นเร่งด่วน 3 ประเด็นหลักๆ คือ

5.1) ความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ กรอบที่เป็นตัวกำหนดแนวทางปฏิบัติต่างๆ ร่วมกันเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวของรัฐบาล

5.2) การ จัดทำระบบการสื่อสารทั้งเพื่อการบริหารจัดการที่ชัดเจนร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ และการดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมการตลาดต่างๆได้อย่างชัดเจน ทั่วถึง มีประสิทธิภาพอีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยว ข้อง ฯลฯ

5.3) กลุ่ม นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าที่ชัดเจนร่วมกันประเด็นแรกสุด คือควรมีการปรับปรุงและแก้ไขคือ การให้ความสะดวกในการขอวีซ่ารวมทั้งการเพิ่มระยะเวลาในการพำนักที่มากขึ้น

ที่มา: http://www.senate.go.th/web-senate/research48/pdf/series1/m01.pdf

http://www.palaces.thai.net/vt/vtgp/

Thailand (heart of Asia) Holidays

 HEART OF ASIA

One of the world’s most popular cuisines. Beautiful beaches and islands. Friendly, charming people. Warm weather all year round. Cheap prices for most things. Colourful, enchanting temples. An exotic culture preserved through the ages in a country that has never been colonised. Where are we talking about? Thailand, of course!

WHY THAILAND

You can travel to Thailand, if you want to experience lovely smiles and gentleness of Thai people and scenic & cultural treasures of Thai land. Thailand certainly is the “land of smiles,” which can make you smile, too. It’s really is enamoring and exotic country, known for its inviting people, culture, scenery, cuisine, and overall lifestyle.

A FREQUENT CHOICE IN INTERNATIONAL TRAVEL

Located in the heart of Asia, Thailand has been captivating foreign visitors for decades. Previous visitors return year after year and as the word spreads, first-time visitors come flooding in. The number of foreign visitors to Thailand continues to increase and year after year, records are broken as international visitors flock to this fascinating country.

VACATIONS, MADE MEMORABLE ONES

Arguably the most exotic destination in South East Asia, Thailand offers travelers and holidaymakers a huge range of vacation possibilities. It doesn’t matter whether you’re a budget traveler wanting to explore a foreign land on a tight budget, or a well-heeled traveler who wants to be pampered and experience the very best, Thailand has something for you.It is still quite possible to find a pristine stretch of beautiful white sand beach that you can have all to yourself. Lazing away the days on a hammock under a palm tree on a mile long beach, without anyone else in sight,swaying in the breeze under a cloudless sky as the waves gently break against the soft white sand.Such an experience can still be had. Welcome to Thailand!

MAKE INFORMED DECISIONS

This page could largely be separated into two separate sections. The first part gives general information about travelling in Thailand while the second part goes into detail about some of the places to visit and some of my feelings about them and experiences there.

Bangkok

Phuket
Ko Samui

Ko Samet

Pattaya

Hua Hin

Isaan

Historic Places

Ko Chang

LEGAL LENGTH FOR YOUR STAY IN THAILAND

Visitors from most Western countries to Thailand get 30 days permission to enter Thailand upon arrival. This is not a visa per se. If you really like Thailand you can exit the country and re-enter immediately thus getting another 30 days. You cannot do this indefinitely and after spending 90 days in Thailand in a 180 day period you cannot return for 90 days, unless you apply for a visa at a Thai embassy or consulate outside of the country first. (There is more on the whole visa issue in the living and working section.) Holders of South Korean, Brazilian and Peruvian passports get 90 days permission. A lot of developing countries get permission to enter for a shorter period of time and visitors from some countries may have to apply in advance for a visa.You can apply in advance for a two month tourist visa which can actually be extended in the country for another 30 days at any Immigration office. The extension costs 1,900 baht.I believe that you may be able to get a multiple entry tourist visa although I personally believe that strictly for tourism purposes, three months is plenty.

LANDING IN THAILAND

Most people arriving in Thailand fly into Suwannaphum international airport in Bangkok. Your first time in Thailand, which may be your first time in Asia, can be more than a little confusing. You are more than likely jumping off the plane after a fairly lengthy trip and probably want to get to your hotel as soon as possible.

ACCOMMODATION

No matter what your budget, you can find something to suit. Thailand and indeed Bangkok has a huge range of places to stay. Whether you want the opulence of the Oriental Hotel, the filth of a Khao Sarn Road backpacker hole or somewhere in between, you will be able to find it in Bangkok. And right throughout Thailand, you will be able to find something to suit your needs, at least most of the time in most places.Bangkok’s top end hotels continue to rate extremely highly. The Oriental Hotel, The Dusit Thani, The Peninsula and The Shangri-La are often mentioned when you hear the top hotels in the world being talked about. These are five star hotels in every sense and should suit the most demanding of travelers Throughout Thailand, you have all of the big international hotel chains like Marriot, Sheraton, Regent, Hyatt represented. You also have some very good Thai hotel chains like Amari. And then you have got a lot of stand alone hotels. At the lower end of the range you have guesthouses. I gather that camping grounds are available in some places but having seen one snake show too many, I think I’ll give that one a miss, thank you.Of the beaches and islands in Thailand, the most popular spots like Pattaya, Phuket and Ko Samui are oozing with a variety of accommodation options. But this is not always the case at some of the more off the beaten track type places. It should come as no surprise that the further off the beaten track you get, generally the harder it is to find quality accommodation. Even in some of the islands the quality of accommodation is not always that good – and sometimes the prices, while cheap by international standards, can be expensive by local Thai standards. Places like Ko Samet and Ko Chang are classic examples where, in my personal opinion, accommodation prices really are higher than they should be.

Khao San Road

If you’re traveling on a budget then Khao San Road is actually extremely well located for anyone visiting Bangkok as it is walking distance to the river and the most interesting and historically significant parts of the city. The must see Grand Palace is about a mile or s away, easily walk able, even in Bangkok’s oppressive heat. Thailand is not an expensive country to travel through and if you are on a real budget, you can do just fine. Let’s look at the cost of accommodation in Bangkok first. A room in the top end hotels tends to go for 5,000 baht or more a night. The very best spots, like the Oriental may even go for twice this. As I mentioned earlier, hotels in Bangkok really are excellent and the top end places are just fabulous. My pick is the Sukhothai which has a wonderful combination of Thai style with modern convenience. It is worth just going for a wander through as it really is that nice! As Bangkok can be quite difficult to get around due to the dreadful traffic conditions and the fact that the skytrain and underground only cover a small part of the city, one needs to think carefully about the area where one chooses to stay. The most popular areas are Sukhumvit Road, Silom Road, the Siam Square / Pratunam area, Banglampoo and the river The prices of ccommodation in Phuket and Ko Samui are much the same as in Bangkok. These are now big international beach resorts with many fabulous places to stay and as such the prices reflect what people are prepared to pay for them. On the other hand, Pattaya and Chiang Mai both have high quality accommodation available at prices which simply do not exist – at least what you get for that money – in Bangkok. This is one reason to visit Pattaya and Chiang Mai – you get very good value for money on your accommodation.

GETTING AROUND THAILAND

TRAVEL BY AIR

Thai Airways is the main domestic airline and airfares for flights within Thailand are fairly reasonably priced, the schedules are good with lots of flights to the most popular destinations. Further, the planes are generally in good condition. Thai Airways flies to most parts of the country, but not quite all. The notable exception of where Thai does not fly is the tropical paradise of Ko Samui. There is only one airline which flies between Ko Samui and Bangkok and that is Bangkok Airways who I believe own the airport at Samui. The fare to fly from Bangkok to Ko Samui on Bangkok Airways is more expensive than the fare on Thai to fly from Bangkok to Phuket, something which many people question, with some feeling that Bangkok Airways really stings you when you fly between Bangkok and Ko Samui. Bangkok Airways also flies to some neighbouring countries as well as operating domestic flights within Thailand, but it is the route to Ko Samui for which they are most famous. Bangkok Airways has tried to reposition themselves and now markets themselves as Asia’s boutique carrier. .

TRAVEL BY CAR

Hiring cars or even a big bike is one way to get around Thailand. The quality of the roads in Thailand is generally pretty good. Car rental is fairly cheap in Thailand which is a little surprising given that the cost of buying a car in Thailand is much dearer than in the West. Generally, driving in provincial Thailand is easy, the drivers are less aggressive, there is much less traffic – and the further you get from Bangkok, the less traffic and congestion you find. However, wherever you go, signs are generally in Thai only. In a few places, and Pattaya is one exception, some road signs are in Thai. Fortunately street signs are in both Thai and English nationwide, something which I have been extremely impressed with. Petrol in Thailand is reasonably priced and as at March 2007, the price is around 26 baht a litre for the highest grade, 95 octane petrol.

HIGH-LOW SEASONS, THERE’S NONE SO SERIOUS DIVISIONS:

The tourist high season runs from around late November through to mid April. At certain times, particularly Christmas, New Year, the Chinese New Year and Songkran the most popular beaches and islands can be extremely busy to the point that getting accommodation can become a bit of a problem. Hotels and even some guesthouses hike their prices – and people are willing to pay it. So if you are travelling over any of these periods it pays to book well in advance. The Songkran period really marks the end of the tourism high season for the year. There are a number of other holidays throughout the year and on some of these holidays nightlife areas and bars and discos can be closed – and the sale of alcohol is outlawed. Some bars slip the boys in brown a bit of cash so they can remain open. Generally speaking it is the Buddhist holidays and December 5th, the birthday of HM The King.

http://www.whyretireinthailand.com/index.html
http://www.lannaresort.com

เชิญชม พระราชวังไทย แบบเสมือนจริง ๓๖๐ องศา/ Thai Royal Palace Virtual tour

Situated in the heart of Asia

Situated in the heart of Asia, Thailand is gearing up to become a full service hub and major player in the region’s US $13 billion dollar a year aircraft maintenance industry. With Bangkok recently soaring up the list to15th in the global rankings measuring the world’s busiest airports in passenger throughput, from an earlier rank of 26th, and as the cargo and passenger volume continues to accelerate further investments in aircraft maintenance becomes even more lucrative. Bangkok already ranks within the top twenty locations in the world for cargo traffic, which was a hefty 1.18 million tons.

Asia’s economic boom, Thailand’s export driven economy and its ever increasing popularity as an international tourist and even medical tourist destination has kept the sky filled with aircraft from every corner of the globe. Aircraft that need refueling, repairing, maintaining and refitting! The opportunities are as vast as the skyline.
The Boeing Company forecasts a market for the Asia-Pacific region of about 7,200 new airplanes worth $770 billion over the next 20 years (March 07, 2006)
In 2006 alone the Asia-Pacific route registered an increase to 978.29 million passengers, jumping 10.3% from the previous year and 22.28% of the global total. That same year, there were a total of 42.8 million passengers serviced by Bangkok’s Don Muang and Suvarnabhumi airports.

“We chose Thailand to set up our first production facility outside the US because of the quality of its workforce, favorable laws and central location in Southeast Asia.” Joseph C. Berenato, chairman and chief executive officer, Ducommun Incorporated.

Thailand’s many strengths:

• GDP rising at an average of 5 percent per year since 2001, and similar levels of growth projected for the near future.
• Skilled, educated and motivated workforce: 96% literacy.
• World class infrastructure: 7 international airports, 8 deep-sea ports, rail and road lines linking every province, modern telecommunications.
• Signatory of free trade agreements, including the ASEAN Free Trade Area, granting access to a market valued at US$700 billion, and the Australian Free Trade Agreement.
• Ranked by the United Nations as the top 3 location in Asia for FDI, by the World Bank as among top 20 in the world for ease of doing business and in the Grant Thornton International Business Report as the #6 location in the world for executive opportunities for women.

Parameters for Success

Thailand has the infrastructure in place for repair services, including overhaul of aircraft engines, and is already a major hub for the electronics and electrical appliance industry, which opens opportunities for cluster development of avionics and communications equipment.
Suvarnabhumi International Airport has significantly boosted the growth potential of the aviation industry in the country, with a capacity to service 45 million passengers per year, 3 million tons of cargo and 76 flights per hour. In November 2009, the Airports of Thailand Public Company Limited (AOT) won approval to build a new domestic passenger terminal, which is expected to be completed by 2013 and will boost the Suvarnabhumi airport’s capacity to 65 million passengers per year.
Don Mueang Airport’s reopening for arrivals and departures of domestic flights only increases the opportunities. DMK can serve 60 flights per hour, 11.5 million domestic passengers a year, and 12,490 tons of domestic cargo per year. (Source: AOT)
Chiang Mai International Airport has completed a 2 billion baht expansion, and now has an infrastructure that can support its aspiration to become a truly regional aviation hub. The airport can now handle 8 million passengers a year.
Phuket International Airport: In December 2009, the government approved a 5.8 billion baht plan to increase the airport’s capacity to 12.5 million passengers by 2018. This is on top of the recently completed second terminal.

Excellent Aircraft Maintenance Infrastructure Thai Airways:
Setting the International Standard
A founding member of the Star Alliance and a GE-approved CF6 Center for Excellence
The THAI Technical Department of Thai Airways International is one of the foremost maintenance centers in Asia.
Suvarnabhumi: World’s largest maintenance hangars for 3 A380 aircraft
Facilities
• 3 bays for A380-size aircraft
• Size: length 270m x width 90m x height 45m
• Maintenance apron 26,100sqm
• Workshop 5,315sqm
• GSE 4,833sqm
• Aircraft spare parts store 19,872sqm
• Office & building 21,450sqm
Capabilities
• Technical support for small aircraft up to B747, A380
• Landing gear change
• Wheel & brake workshop
• Sheet metal workshop
• Painting shop
• NDT shop
• Welding shop
• Emergency shop
• Tools & equipment repair workshop
• GSE workshop
• New hangar for A-Check to C-Check
• MCC to handle all problems of line maintenance
U-Thapao facility: The THAI Technical Department’s new US$120 million facility at U-Thapao, 125 kilometers southeast of Bangkok, adds 240,000sqm and three bays to the 170,000sqm and six bays already in service at its main facility at Bangkok International Airport.
Thai Airways International Public Company Limited’s Technical Department recently received the “Requalifier Identification Certificate” from the U.S. Department of Transportation. This certifies that the quality of THAI’s Aircraft Emergency Equipment Maintenance process has achieved the international standard.
Thai Aviation Industry: Expertise and Experience
AEROTHAI : Aeronautical Radio of Thailand
With more than 50 years of experience, AEROTHAI provides air traffic services recognized to international standards.
Airports of Thailand Public Company Limited
A public company since 30 September 2002, AOT has six international airports under its administration: Don Muang International Airport, Chiang Mai International Airport, Hat Yai International Airport, Phuket International Airport, Chiang Rai International Airport, and Suvarnabhumi International Airport.
Civil Aviation Training Center
CATC is the specialized Civil Aviation Center of the region, with world-class human resources learning.
Thailand an Excellent and Expanding Market
Thai Airways International and All Nippon Airways sign an agreement for THAI to conduct heavy maintenance on ANA’s Boeing 747-400 aircraft. (February 2007)
THAI’s Board of Directors approve 200 new positions to recruit staff for the Heavy Maintenance Department to improve efficiency in aircraft maintenance, along with a US$14.5 million purchase of additional maintenance equipment. (March 2007)


 Thailand has the infrastructure in place for repair services, including overhaul of aircraft engines, and is already a major hub for the electronics and electrical appliance industry, which opens opportunities for cluster development of avionics and communications equipment.

Price, quality and service define Thailand’s E&E industry, which has made the country the world’s largest manufacturer of hard disk drives, and a major exporter of integrated circuits and consumer electronics. And with the addition of Ducommun’s manufacture of high performance and high reliability commercial microwave switches, the benefits to aircraft maintenance become even stronger.

Added traffic with the opening of the new Suvarnabhumi International Airport has significantly boosted the growth potential of the aerospace industry in the country, with a capacity to service 45 million passengers per year and 76 flights per hour. Don Muang’s reopening for arrivals and departures of domestic flights only increases the opportunities.
International Scheduled Flight Movements
Bangkok International Airport

Excellent Aircraft Maintenance Infrastructure
Thai Airways: setting the international standard
A founding member of the Star Alliance and GE-approved CF6 Center for Excellence
THAI Technical Department of Thai Airways International is “one of the foremost maintenance centers in Asia.”

Bangkok facility: one the largest aircraft maintenance centers in Southeast Asia
With over 40years of experience, a staff of more than 4,000 operate a facilities area of 170,000 sqm and offer superior engine maintenance, engine overhaul and component repairs that meet the highest European standards.
• 5 Hangars (6 Bays) of B747 size with full support system for wide body aircraft
• 1 bay of B737 size or equivalent
• 20,000 sq.m of apron area
• 46.100 sq.m Workshop
• 29,000 sq.m Spare Parts Storage Area
• 100,000 lbs. and 150,000 lbs thrust Computerized Engine Test Cell

U-Thapao facility
The Thai Technical Department at U-Thapao offers high-quality/low-cost airframe overhaul services for Boeing 737, 747, 777 series and for the Airbus A-300 series, as well as a full range of modification services including Section 41, Strut modification, Engine pylon, and TCAS.
The Thai Technical Department prides itself on excellence and safety, and has received international certificates from RAB (USA), TTA (Germany), RVA (Netherlands), UKAS (United Kingdom), COFAC (France), JAS-ANZ (Australia & New Zealand) and SCES (Switzerland), as well as approval from the US Federal Aviation Administration (FAA), Joint Aviation Authorities (JAA) and the Department of Aviation of Thailand (Thai DOA).

Thai Aviation Industries
“An expertise and experience in military aircraft depot level maintenance, aircraft modifications & upgrades, refurbishment, major structural repairs & corrosion control, and engine and components repair/overhaul.” Source: www.taicomp.com
Aerothai : Aeronautical Radio of Thailand
With over 50 years of experience, AEROTHAI has provided Air Traffic Services and related services with recognized international standards. AEROTHAI has used its know-how in air traffic control and engineering to expand its business in the aviation industry, especially in the Asia region.
This business expansion includes:

• Air Traffic Service and related services
• Communication Network Services
• Airline and Airport Communication Services
• Flight Inspection Service
Airports of Thailand Public Company Limited (AOT)
A public company since 30 September 2002, AOT has 6 international airports under its administration: Don Muang International Airport, Chiang Mai International Airport, Hat Yai International Airport, Phuket International Airport, Chiang Rai International Airport and Suvarnabhumi Airport.
Civil Aviation Training Center
"CATC is the Specialized Civil Aviation Center of the Region with Learning Organization of World-Class Human Resources."
Source: Civil Aviation Training Center
Thailand: an excellent and expanding market
“Thai Airways International and All Nippon Airways signed an agreement for Thai to conduct ‘heavy maintenance’ on ANA’s Boeing 747-400 aircraft” (February 2007)
Thai’s Board of Directors approve 200 new positions to recruit staff for the heavy maintenance department, to improve efficiency in aircraft maintenance, along with the purchase of US $14.5 million in additional maintenance equipment. (March 2007)
Aircraft Parts and Components
 For complete details please visit the BOI at www.boi.go.th.

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

จีน หนุนไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และศูนย์กลางเงินหยวน

 

รถไฟความเร็วสูงหนุนไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ?Print
การเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในร่างกรอบการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างประเทศไทยกับ จีนในเส้นทางหลัก 3 เส้นทาง คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง และเส้นทางกรุงเทพฯ-สุดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย แม้จะยังไม่ปรากฏผลในทางปฏิบัติ เพราะจะต้องเสนอร่างกรอบการเจรจาดังกล่าวต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
แต่มติ ครม.ดังกล่าวถือเป็นความคืบหน้าและอีกก้าวที่สำคัญของการพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านและ ภูมิภาคอย่างจีนตอนใต้ โดยเฉพาะการค้าชายแดนและผ่านแดนที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะได้รับปัจจัยหนุนจากทั้งการลดภาษีนำเข้าร้อยละ 0 จากการเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบอาเซียนและอาเซียน-จีน รวมทั้งการเปิดเสรีการค้าบริการอาเซียนสาขาโลจิสติกส์ที่มีเป้าหมายในการ เปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบในปี 2556
นอกจากนี้ยังเป็น โอกาสของไทยในการรองรับนักท่องเที่ยว ชาวจีนที่จะผ่านเข้ามาด้วยเส้นทางทางบกได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมจะเป็นการยกระดับบทบาทของไทยใน การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และประตูเศรษฐกิจหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และจีน
ความร่วมมือที่จะพัฒนากิจการรถไฟ ระหว่างประเทศไทยกับจีน ตามกรอบการเจรจาที่ ครม.เห็นชอบจะเป็นความร่วมมือในการพัฒนากิจการรถไฟในเส้นทางหลัก 3 เส้นทาง คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะทางประมาณ 615 กิโลเมตร) เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง (ระยะทาง 250 กิโลเมตร) และเส้นทาง กรุงเทพฯ-สุดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย (ยังไม่ได้ระบุจุดหมาย ระยะทางประมาณ 985 กิโลเมตร)
ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวคาดว่าจะป็นการพัฒนาระบบรางขนาดมาตรฐาน (Standard Gauge: 1.435 เมตร) จากที่ปัจจุบันไทยใช้ระบบรางขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) ซึ่งมีข้อจำกัดด้านน้ำหนักการขนส่งและความเร็วของรถไฟ
โดย ความร่วมมือเพื่อพัฒนากิจการรถไฟไทยบางเส้นทางเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างราง รถไฟขนาดมาตรฐานของจีนจากคุนหมิง (มณฑลหยุนหนานทางตะวันตกของจีน)-นครเวียงจันทน์ (ลาว)-หนองคาย-กรุงเทพฯ-สุดชายแดนภาคใต้ของไทย-มาเลเซีย ซึ่งความเป็นไปได้ของไทยน่าจะมีความพร้อมในเส้นทางรถไฟเส้นทาง หนองคาย-กรุงเทพฯ ก่อน ซึ่งในเบื้องต้นอาจใช้งบประมาณ ลงทุนประมาณ 1.7 แสนล้านบาท (280 ล้านบาทต่อกิโลเมตร) มีความเร็วไม่น้อยกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือได้ว่าเป็นรถไฟฟ้าความเร็วสูง โดยอาจใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือดังกล่าวยังคงต้องติดตามความชัดเจนในรายละเอียดของโครงการ เช่น รูปแบบรางซึ่งอาจเป็นแบบ Single Track หรือ Double Track หรือแบบผสม ซึ่งจะมีผลต่อความเร็วของรถไฟและการบริการจัดการ รวมทั้งงบประมาณในการก่อสร้าง ลักษณะการร่วมลงทุนระหว่างไทยกับจีน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ ทั้ง พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ร.บ.การเข้าร่วมงานของภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
ขณะที่ประเด็น ว่าด้วยแหล่งเงินทุน ซึ่งอาจกระทบต่อระดับหนี้สาธารณะ และข้อจำกัดในการก่อหนี้ของรัฐในอนาคต รวมทั้งประเด็นการแปลงสินทรัพย์ เช่น ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นมูลค่าการถือหุ้น ข้อกำหนดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุก่อสร้าง แรงงาน ผู้เชี่ยวชาญ การแบ่งรายได้ การบริหารงาน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีก็ยังเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา
สำหรับ โครงการพัฒนากิจการรถไฟเส้นทางหนองคาย-กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเส้นทางในส่วนของไทยที่น่าจะก่อสร้างได้ก่อนช่วงอื่น โดยจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 ปี ซึ่งในระยะสั้นจะทำให้เกิดเม็ดเงินลงทุนสู่ระบบเศรษฐกิจและขยายการจ้างงานใน ประเทศ ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงเส้นทางหนองคาย-กรุงเทพฯ เป็นส่วนที่เชื่อมจากเส้นทางจากนครคุนหมิง ในมณฑลหยุนหนานของจีน ผ่านหลวงพระบางและนครเวียงจันทน์ในลาว มุ่งสู่ประเทศไทยโดยข้ามผ่านสะพานแม่น้ำโขงแห่งแรกของไทยที่ จ.หนองคาย และสู่ กรุงเทพฯ ซึ่งเส้นทางนี้จะเป็นการเปิดทางออกสู่ทะเลของมณฑลด้านตะวันตกของจีนอย่าง มณฑลหยุนหนาน และมณฑลเสฉวนที่ไม่มีทางออกทางทะเล ให้สามารถขนส่งสินค้าไปยังท่าแหลมฉบัง ได้ ซึ่งจะรวดเร็วกว่าการขนส่งไปยังท่าเรือที่ฮ่องกง
นอก จากการเชื่อมโยงกับมณฑลหยุนหนาน ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโต รัฐบาลจีนมีนโยบายที่จะพัฒนาพื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศด้วยนโยบาย Go West Policy โดยมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน เส้นทางรถไฟ สนามบิน และศูนย์กระจายสินค้า จึงเป็นโอกาสที่จะทำให้ไทยสามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ ของจีนด้วยโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของจีน และถือเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยจะขยายตลาดในภาคตะวันตกของจีน ซึ่งผู้บริโภคในมณฑลหยุนหนานเองก็ยังค่อนข้างคุ้นเคยกับสินค้าไทยอยู่แล้ว ขณะที่เส้นทางที่ผ่านลาว ซึ่งเป็นประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตสูง โดยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศและมีการเข้าไปลงทุนของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะจีนที่เข้าไปลงทุนด้านอุตสาหกรรม การเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร จึงน่าจะเป็นโอกาสของไทยที่ขยายตลาดในลาว ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคก็ใช้สินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยอยู่แล้วค่อนข้างมาก
ส่วน การเชื่อมเส้นทางจากกรุงเทพฯ สู่ภาคใต้ของไทยไปยังมาเลเซียและมีโอกาสเชื่อมโยงไปสู่สิงคโปร์ในอนาคต จะทำให้การขนส่งสินค้าจากภาคใต้ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ สู่จีนได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถขนส่งสินค้าที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ จากมาเลเซียมาที่กรุงเทพฯ เพื่อกระจายไปสู่ตลาดต่างๆ ได้สะดวกขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้ามก็ต้องตระหนักถึงผลกระทบจากการเข้ามาของสินค้าจากประเทศที่ มีเส้นทางการขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศไทย ซึ่งก็จะสะดวกขึ้นเช่นกันหากโครงการพัฒนารถไฟดังกล่าวแล้วเสร็จ โดยเฉพาะสินค้าราคาถูกจากจีน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยอาจต้องเตรียมรับมือกับการเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบการต่าง ชาติในไทยที่อาจมีมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ การขนส่งทางถนนตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor) ที่เชื่อมโยงแต่ละประเทศเข้าด้วยกันจะช่วย เสริมกันกับการขนส่งในระบบราง ซึ่งจะทำให้ระบบคมนาคมขนส่ง ทางบกที่เชื่อมโยงไทยกับประเทศในภูมิภาคมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเส้นทางถนนจะช่วยเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าและผู้โดยสารจากแต่ละพื้นที่ เข้าสู่การขนส่งในระบบราง ขณะเดียวกันก็จะช่วย กระจายสินค้าและผู้โดยสารไปยังพื้นที่อื่นๆ ซึ่งไม่มีระบบรางพาด ผ่าน โดยเฉพาะเมื่อการขนส่งทางถนนเป็นรูปแบบการขนส่งที่สำคัญและมีเครือข่ายครอบ คลุมพื้นที่ทั้งในประเทศไทยรวมทั้งหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ซึ่งเส้นทางทางถนนที่สำคัญและมีบทบาทเชื่อมโยงในภูมิภาคนี้ โดยเส้นทาง R3A จากกรุงเทพฯ ผ่านลาวไปยังนครคุนหมิงในมณฑลหยุนหนาน ซึ่งเป็นอีกเส้นทาง ที่เชื่อมโยงไทย ลาว และกับจีนตะวันตก จะช่วยกระจายสินค้าและผู้โดยสารในภาคเหนือของไทยสู่มณฑลหยุนหนานได้เช่นกัน นอกจากนี้ เส้นทางนี้ยังมีความสำคัญกับจีนเนื่องจากมีศักยภาพที่จะออกสู่ทะเลได้เช่น กัน โดยเฉพาะหากไทยมีการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก (Deep Seaport) ทางฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งในอนาคตหาก สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2555) และโครงการก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า (Intermodal Facilities) ที่เชียงแสนและเชียงของ จ.เชียงราย แล้วเสร็จก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในการค้าชายแดนให้เติบโตได้มากขึ้น
ส่วน เส้นทาง R8 (จากหนองคายหรือนครพนม ผ่าน R13) หรือ R12 (ผ่านนครพนม) ซึ่งเป็นเส้นทางการขนส่งทางถนนที่สามารถเชื่อมโยงกับการเส้นทางรถไฟ หนองคาย-กรุงเทพฯ ได้ อีกทั้งยังมีเส้นทางที่ผ่านลาวไปยังเวียดนาม ไปถึงนครหนานหนิง ในมณฑลกวางสี ซึ่งเป็นมณฑลเดียวของจีนตอนในทางตะวันตกที่มีทางออกทะเล และมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญของจีนตอนใน อีกทั้งยังติดกับมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยและมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของจีน โดยเส้นทาง R12 มีการใช้สำหรับการขนส่งผลไม้สดจากไทยไปยังตลาด เจียงหนาน นครกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-3.5 วัน สั้นและสะดวกกว่าเส้นทางอื่น ซึ่งหากสะพานข้ามแม่น้ำ โขงแห่งที่ 3 แล้วเสร็จ (คาดว่าจะเปิดใช้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554) น่าจะทำให้การขนส่งสินค้าตามเส้นทางนี้สะดวกยิ่งขึ้น
นอก จากนี้ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ในภูมิภาคที่อยู่ระหว่างดำเนินการและการศึกษาอีกหลายโครงการยังน่าจะช่วย เพิ่มประสิทธิภาพและการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เข้าด้วย เช่น การสร้างถนนจาก จ.กาญจนบุรีถึงชายแดน พม่าเพื่อเชื่อมต่อไปยังท่าเรือทวายในพม่า การสร้างเส้นทางรถไฟต่อจากท่านาแล้งถึงนครเวียงจันทน์
การ พัฒนาการค้าภายในอนุภูมิภาค (Sub-Region) ทั้งการค้าชายแดนและผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศใกล้ เคียงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2553 การค้าชายแดนและผ่านแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และจีนตอนใต้ ขยายตัวร้อยละ 34.5 จากช่วงเดียว กันของปีก่อน (YoY) ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนทิศทางการค้า ชายแดนและผ่านแดนที่น่าจะขยายตัวได้ดี แม้ว่าปัจจุบันยังมีข้อจำกัดและอุปสรรคที่ยังฉุดรั้งการค้าชายแดนและผ่านแดน ของไทย อยู่ก็ตาม
โดยปัจจัยที่สนับสนุนการค้าชายแดน และผ่านแดนของไทยที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมทั้ง การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบอาเซียนและอาเซียน-จีน ซึ่งมีการลดภาษีการนำเข้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในอัตราร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ขณะที่การเปิดเสรีการค้า บริการสาขาโลจิสติกส์ ซึ่งจะมีการทยอยเปิดมากขึ้นจะช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับการค้ามาก ยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี น่าจะเป็นแรงหนุนความต้องการสินค้าและบริการ รวมทั้งดึงดูดการลงทุนมาสู่ภูมิภาคนี้ได้มากขึ้น ซึ่งหลายประเทศได้เล็งเห็น และให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียน โดยพยายามเข้ามามีส่วนร่วม และลงทุนในภูมิภาคนี้มากขึ้น เช่น จีน และญี่ปุ่นด้วย
นอก จากผลในทางการค้าแล้ว ไทยยังมีโอกาสที่จะขยายตลาดการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียนและจีนได้ เพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านที่รวมเวียดนามและจีนมีจำนวน ประมาณ 3.7 ล้านคนต่อปี คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า ร้อยละ 25 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด มาเลเซียเป็นประเทศ ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังไทยมากที่สุดคือประมาณ 1.8 ล้านคนต่อปี ขณะที่จีนมีจำนวน 8 แสนคนต่อปี แต่คาดว่าภายใน 3-5 ปี นักท่องเที่ยวจากจีนน่าจะแซงหน้ามาเลเซียขึ้นมาเป็นตลาด นักท่องเที่ยวอันดับ 1 ของไทยได้ หากมียุทธศาสตร์รองรับที่ดี
ศูนย์ วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในปี 2553 การค้าชายแดนและผ่านแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และจีนตอน ใต้ อาจมีมูลค่าประมาณ 750,000-790,000 ล้านบาท หรือขยายตัวประมาณร้อยละ 16.0-22.0 จาก 646,813 ล้านบาท ในปี 2552 ขณะที่ในอีก 5 ปีข้างหน้า (2554-2558) มูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนอาจเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 1,500,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบร้อยละ 8 ของการค้ารวมของไทย จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.8
ด้านการท่องเที่ยว หากความร่วมมือระหว่างประเทศภายใน ภูมิภาคมีการพัฒนาต่อไป คาดว่าตลาดนักท่องเที่ยวจากประเทศ เพื่อนบ้านรวมถึงเวียดนามและจีนจะเติบโตได้มากขึ้น โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยวจากจีนซึ่งภาครัฐมีเป้าหมายเชิงรุกที่จะดึงดูดเข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้า นักท่องเที่ยวจีนมีโอกาส เพิ่มขึ้นมาถึงระดับ 2 ล้านคนต่อปี ซึ่งจะเป็นตลาดนักท่องเที่ยวอันดับ 1 แทนที่มาเลเซียและญี่ปุ่นได้
โดยหากการลงทุนในด้าน โครงสร้างพื้นฐานอาเซียนขนาด ใหญ่แล้วเสร็จ ประกอบกับความร่วมมือเพื่อลดอุปสรรคทางด้านการค้าระหว่างประเทศที่มีมากยิ่ง ขึ้น อีกทั้งการเปิดเสรีการค้า การค้าบริการ และการลงทุนที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถผลักดันเพื่อก้าวไปสู่การ เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ได้ก็จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจใน ภูมิภาคนี้ และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของ ภูมิภาคให้สามารถขยายตัวได้อย่างก้าวกระโดดในอนาคต
อย่าง ไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งการพัฒนาและความร่วมมือข้างต้นอาจนำมาซึ่งการแข่งขันที่สูง ขึ้นจากทั้งสินค้าและบริการ รวมถึงผู้ประกอบการจากประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคที่จะเข้ามายังตลาดภายใน ประเทศไทย โดยเฉพาะจีน ซึ่งอาจทำให้มีการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีนเพิ่มขึ้นมากกว่าในปัจจุบัน

สามารถคลิกอ่านข่าวและดูภาพประกอบได้ที่ http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=89415

จีนหนุนไทยศูนย์กลางเงินหยวน

ทั้ง นี้ได้กำหนดเป้าหมายให้ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน พร้อมเตรียมพัฒนาบริการทางการเงินเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการการค้า อาเซียน

นายเจียง เจี้ยนชิง ประธานกรรมการ ธนาคารไอซีบีซี (ประเทศจีน) เปิดเผยว่า กลุ่มธนาคารไอซีบีซี (ประเทศจีน) ได้เข้าซื้อหุ้นธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้ธนาคารไอซีบีซี (ประเทศจีน) เป็นผู้ถือหุ้นในxxxส่วน 97.24% ของทุนจดทะเบียน และได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อจากธนาคารสินเอเซีย เป็นธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

"การเข้าซื้อหุ้นธนาคารสินเอเซีย เชื่อมั่นว่าไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการก่อตั้งธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มช่องทางด้านการค้าและขยายการลงทุนในลุ่มแม่น้ำ โขง ตลอดจนภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายให้ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน พร้อมเตรียมพัฒนาบริการทางการเงินเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการการค้าอา เซียน ทั้งนี้ จะผลักดันเงินหยวนเข้าสู่สากลมากขึ้น และออกผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตใบแรกในโลกที่เป็นสกุลเงินหยวนควบคู่กับสกุลเงิน บาทของไทยในใบเดียวกัน

นอกจากนี้ในปีหน้า (2554) จะปล่อยเงินกู้ในสกุลเงินหยวนเพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนให้ กับผู้ประกอบการจีนที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย และผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจในจีน

"ในการค้าขายมีประเทศไม่น้อยที่ ใช้สกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งคิดว่าการใช้เงินดอลลาร์ระหว่างการค้าไทยกับจีนจะเป็นการเพิ่มภาระของ ทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งตอนนี้การค้าระหว่างไทยและจีนเพิ่มขึ้น ส่วนการค้าของจีนกับประเทศเพื่อนบ้านได้ชำระเป็นเงินหยวนแล้ว และมีอัตราการเติบโตในรูปแบบดังกล่าวเพิ่มขึ้นตลอดเวลา".